ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ข้อสอบและเฉลย นักธรรมชั้นตรี  ชั้นโท ชั้นเอก รวมข้อสอบเก่า
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ข้อสอบและเฉลย นักธรรมชั้นตรี  ชั้นโท ชั้นเอก รวมข้อสอบเก่า

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

.      บุพพการี  ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน

กตัญญูกตเวที  ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว  และตอบแทน

(ตอบเพียง ๒ คู่)

คู่ที่ ๑   มารดาบิดากับบุตรธิดา

คู่ที่ ๒   ครูอาจารย์กับศิษย์

คู่ที่ ๓   พระราชากับราษฎร

คู่ที่ ๔   พระพุทธเจ้ากับพุทธบริษัท ฯ

.  อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมีกี่อย่าง ?  

ข้อที่ว่า ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์นั้นคืออย่างไร ?

.      มี ๓ อย่าง ฯ

คือ ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ

 

 

 

.     มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่ว เรียกว่าอะไร ?  มีอะไรบ้าง ?  

        เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรปฏิบัติอย่างไร ?

.      เรียกว่า อกุศลมูล ฯ

          มี     . โลภะ อยากได้

                 . โทสะ คิดประทุษร้ายเขา

                 . โมหะ หลงไม่รู้จริง ฯ

          เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรละเสีย  ด้วยทาน ศีล ภาวนา ฯ

.     ปัญญาอันเห็นชอบอย่างไร จึงชื่อว่ามรรคในอริยสัจ ๔ ? เพราะเหตุไร ?

.      ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์  สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด  สิ่งนี้ความดับทุกข์  สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์  ได้ชื่อว่ามรรค ฯ   เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ

.     ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง  คืออะไรบ้าง ?   ธรรม ๕ อย่างนั้น เรียกว่าอินทรีย์  เพราะเหตุไร ?

.      คือ     .  สัทธา       ความเชื่อ            .  วิริยะ    ความเพียร

       .  สติ          ความระลึกได้     .  สมาธิ    ความตั้งใจมั่น

                   .  ปัญญา     ความรอบรู้ ฯ

          เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน ฯ

.     คารวะ คืออะไร ?   มีกี่อย่าง ?  

        ข้อว่า คารวะในความศึกษา  หมายถึงอะไร ?

.      คือ ความเคารพ เอื้อเฟื้อ ฯ   มี ๖ อย่าง ฯ

          หมายถึง ความเคารพ เอื้อเฟื้อในไตรสิกขา ฯ

.     มละ คืออะไร ? เป็นศิษย์ได้ดีแล้วทำมึนตึงกับอาจารย์ จัดเข้าในมละอย่างไหน และควรชำระมละอย่างนั้นด้วยธรรมอะไร ?

.      มละคือมลทิน ฯ   จัดเข้าใน มักขะ ลบหลู่คุณท่าน   และควรชำระด้วยกตัญญูกตเวทิตา ความรู้คุณท่านแล้วตอบแทน ฯ

.     อบายมุข  คืออะไร ?  คบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษอย่างไร ?

.      คือ  ทางแห่งความเสื่อม ฯ

          มีโทษอย่างนี้ คือ

๑.     นำให้เป็นนักเลงการพนัน

๒.     นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้

๓.     นำให้เป็นนักเลงเหล้า

๔.     นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม

๕.     นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า

๖.      นำให้เป็นคนหัวไม้ ฯ

.      ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร ?  มีอะไรบ้าง ?

.      เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ฯ   มีดังนี้

. อุฏฐานสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยความหมั่น  ในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี  ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี  ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี

.  อารักขสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยการรักษา  คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น  ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี  รักษาการงานของตน  ไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี

.  กัลยาณมิตตตา  ความมีเพื่อนเป็นคนดี  ไม่คบคนชั่ว

.    สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ไม่ให้  ฝืดเคืองนัก  ไม่ให้ฟูมฟายนัก ฯ

๑๐.   มิจฉาวณิชชา คืออะไร ? การค้าขายเด็ก การค้าขายยาเสพติด การ    ค้าขายเบ็ดตกปลา  จัดเป็นมิจฉาวณิชชาข้อใด?

๑๐.    มิจฉาวณิชชา  คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ฯ

          การค้าขายเด็ก  จัดเข้าในค้าขายมนุษย์

          การค้าขายยาเสพติด  จัดเข้าในค้าขายน้ำเมา

          การค้าขายเบ็ดตกปลา  จัดเข้าในค้าขายเครื่องประหาร ฯ

***********

 

 

 

 

 

 

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันพุธ ที่ ๓๐ กันยายน พ..๒๕๕๒

 

.     การเรียนรู้พุทธประวัติได้ประโยชน์อย่างไร ?

.      ได้ประโยชน์ ๒ ประการ คือ

.    ในด้านการศึกษา ทำให้ทราบความเป็นมาของพระพุทธเจ้า เช่นเดียว

       กับการศึกษาตำนานความเป็นมาของชาติตน ทำให้บุคคลได้ทราบว่า 

       ชาติของตนเป็นมาอย่างไร  มีความสำคัญอย่างไรเป็นต้น

.   ในด้านปฏิบัติ  ทำให้บุคคลได้แนวในการดำเนินชีวิตตามพระพุทธ

       จริยา อันเป็นปฏิปทานำความสุขความเจริญมาให้แก่บุคคล ตาม

       สมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ ฯ

.     เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นคืออะไรบ้าง ?  

ทรงเห็นแล้ว มีพระดำริอย่างไร ?

.      คือ  คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ฯ  

          ทรงมีพระดำริว่า  บุคคลทั่วไปถูกความเจ็บ ความแก่ ความตายครอบงำ  

          ไม่ล่วงพ้นไปได้ ถึงพระองค์เองก็มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ควรแสวงหา

          อุบายเครื่องพ้น  แต่ฆราวาสเป็นที่คับแคบ ดุจเป็นทางที่มาแห่งธุลี

          บรรพชาเป็นช่องว่าง พอที่จะแสวงหาอุบายนั้นได้ จึงน้อมพระหฤทัยไป

          ในบรรพชา ฯ

.     การที่พระมหาบุรุษทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยานั้น เพราะเหตุไร ?

.      เพราะทรงดำริว่า  ทุกกรกิริยาที่ทรงบำเพ็ญนั้นจะยิ่งไปกว่านี้ไม่มี   แต่ก็ไม่

เป็นทางให้ตรัสรู้ได้ การบำเพ็ญเพียรทางจิตจักเป็นทางตรัสรู้ได้กระมัง  แต่คน

ซูบผอมเช่นนี้ไม่สามารถทำได้   จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา  กลับมาเสวย

พระอาหารตามปกติ ฯ

.     อนัตตลักขณสูตร ว่าด้วยเรื่องอะไร ? ทรงแสดงเมื่อไร ?  

ผลเป็นอย่างไร ?

.      ว่าด้วย ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ฯ   เมื่อวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ฯ         ผล  คือจิตของพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕  พ้นแล้วจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ฯ

.     ฆราวาสที่บรรลุพระอรหัตผลคนแรกคือใคร ? เพราะฟังธรรมอะไร ?

.      คือ ยสกุลบุตร ฯ   เพราะฟังอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ ฯ

.     พระพุทธเจ้าทรงเลือกแคว้นมคธเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก เพราะเหตุไร ?

.      เพราะแคว้นมคธ  เป็นแคว้นใหญ่มีอำนาจและบริบูรณ์ด้วยสมบัติ        มีประชาชนมาก  มีเจ้าลัทธิมาก  จึงทรงเลือก ฯ

.     พระอัครสาวกทั้ง ๒ องค์สำเร็จเป็นพระโสดาบันเพราะฟังธรรมจากใคร ?

.      พระสารีบุตร ฟังธรรมจากพระอัสสชิเถระ ฯ

          พระโมคคัลลานะ ฟังธรรมจากพระสารีบุตร ฯ

 

.     พระพุทธรูป สังเวชนียสถาน ตุมพสถูป และ อังคารสถูป อย่างไหนเป็นบริโภคเจดีย์และอุทเทสิกเจดีย์ ?

.      สังเวชนียสถาน ตุมพสถูป และ อังคารสถูป เป็นบริโภคเจดีย์

          พระพุทธรูป เป็นอุทเทสิกเจดีย์ ฯ

 

ศาสนพิธี

.     อุโบสถศีล  มีกี่ข้อ ?  ข้อที่ ๓ ว่าอย่างไร ? การเข้าจำอุโบสถศีลนี้อยู่ในหมวดไหนของศาสนพิธี ?

.      มี ๘ ข้อ ฯ  ข้อที่ ๓ ว่า  อพฺรหฺมจริยา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ ฯ   อยู่ในหมวดกุศลพิธี ฯ

๑๐.   การแสดงความเคารพในศาสนพิธีมีอะไรบ้าง ?  ในแต่ละอย่างมีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?

๑๐.    มี ประนมมือ ๑  ไหว้ ๑  กราบ ๑ ฯ

          ประนมมือ  คือการกระพุ่มมือทั้งสองประกบกันไว้ระหว่างอก  

          โดยให้ทุกนิ้วของมือทั้งสองแนบชิดติดตรงกัน

          ไหว้  คือการยกมือที่ประนมขึ้นพร้อมก้มศีรษะเล็กน้อยให้มือประนม

          จรดหน้าผาก นิ้วมือทั้ง ๒ อยู่ระหว่างคิ้ว

กราบ  คือการแสดงอาการกราบราบลงพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ฯ

***********

 

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันพฤหัสบดี ที่ ๑ ตุลาคม พ..๒๕๕๒

 

.     พุทธบัญญัติและอภิสมาจาร คืออะไร ?  ทั้ง ๒ รวมเรียกว่าอะไร ?

.      พุทธบัญญญัติ  คือข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น  เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง ส่วนอภิสมาจาร คือขนบธรรมเนียมที่ทรงแต่งตั้งขึ้น เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ ทั้ง ๒ นี้รวมเรียกว่า พระวินัย ฯ

.     อาบัติ คืออะไร ? อาบัติที่เป็นโลกวัชชะและที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่าอย่างไร ?  จงยกตัวอย่างประกอบด้วย

.      คือ  โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ฯ

          อาบัติที่เป็นโลกวัชชะหมายความว่า อาบัติที่มีโทษซึ่งภิกษุทำเป็นความผิดความเสีย คนสามัญทำก็เป็นความผิดความเสียเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม เป็นต้น ส่วนที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่า อาบัติที่มีโทษเฉพาะภิกษุทำ แต่คนสามัญทำไม่เป็นความผิดความเสีย เช่น ขุดดิน เป็นต้น ฯ

 

 

 

.     สิกขากับสิกขาบท  ต่างกันอย่างไร ? อย่างไหนมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?

.      สิกขา  คือ ข้อที่ภิกษุต้องศึกษา  มี ๓  ได้แก่ สีลสิกขา จิตตสิกขา

          ปัญญาสิกขา ส่วนสิกขาบท  คือ พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ เป็นสิกขาบท

          หนึ่ง ๆ  มี ๒๒๗ สิกขาบท  ได้แก่ ปาราชิก ๔  สังฆาทิเสส ๑๓ 

          อนิยต ๒  นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐  ปาจิตตีย์ ๙๒  ปาฏิเทสนียะ ๔ 

          เสขิยะ ๗๕  และ อธิกรณสมถะ ๗ ฯ 

.     คำว่า  อาบัติที่ไม่มีมูล  กำหนดโดยอาการอย่างไร ?   ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติไม่มีมูลต้องอาบัติอะไร ?

.      กำหนดโดยอาการ ๓  คือ ไม่ได้เห็นเอง ๑  ไม่ได้ยินเอง ๑  ไม่ได้เกิด รังเกียจสงสัย ๑  ว่าภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น ฯ   โจทด้วยอาบัติปาราชิกต้องอาบัติสังฆาทิเสส  โจทด้วยอาบัติอื่นจากอาบัติปาราชิกต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

.     ในสิกขาบทที่ ๒ แห่งอาบัติปาราชิก  ทรัพย์เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก อาบัติถุลลัจจัย และอาบัติทุกกฏ มีกำหนดราคาไว้เท่าไร ?

.      มีกำหนดราคาไว้ดังนี้

ทรัพย์ มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก

ทรัพย์ มีราคาไม่ถึง ๕ มาสก แต่มากกว่า ๑ มาสก เป็นเหตุให้ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ทรัพย์ มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา เป็นเหตุให้ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

 

 

.     ผ้าไตรครอง  มีอะไรบ้าง ? ต่างจากอติเรกจีวรอย่างไร ?

.     มี  สังฆาฏิ  อุตตราสงค์  อันตรวาสก ฯ   ต่างกันอย่างนี้  ผ้าไตรครองเป็นผ้าที่ภิกษุอธิษฐาน  มีจำนวนจำกัด คือ ๓ ผืน   ส่วนอติเรกจีวร คือผ้าที่นอกเหนือจากผ้าไตรครอง  มีได้ไม่จำกัดจำนวน ฯ

.     พระ ก. นำเบียร์มาให้พระ ข. ดื่ม  โดยหลอกว่าเป็นน้ำอัดลม  พระ ข. หลงเชื่อจึงดื่มเข้าไป ถามว่า พระ ก. และพระ ข. ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?  

.      พระ ก. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะพูดปด

          พระ ข. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะดื่มน้ำเมา   แม้ไม่รู้ก็ต้องอาบัติ

          เพราะสิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ ฯ

.     ภิกษุนำตั่งของสงฆ์ไปตั้งใช้ในที่แจ้ง จะหลีกไปสู่วัดอื่นต้องทำอย่างไร จึงจะไม่เป็นอาบัติ ?

.      ต้องเก็บด้วยตนเอง  หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายให้ผู้อื่น 

จึงจะไม่เป็นอาบัติ ฯ

.     ลักษณะการประเคนประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง ?   การช่วยกันยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนก็ดี  การจับผ้าปูโต๊ะประเคนก็ดี   ทั้ง ๒ วิธีนี้ถูกต้องหรือไม่ ?  เพราะเหตุไร ?

.      ประกอบด้วยองค์ต่อไปนี้

          . ของที่จะพึงประเคนนั้นไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป  พอคนปานกลาง

              ยกได้คนเดียว

. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส

. เขาน้อมเข้ามา

. กิริยาที่น้อมเข้ามาให้นั้น ด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้

     ด้วยโยนให้ก็ได้

. ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ ฯ

     ไม่ถูกทั้ง ๒ วิธี  เพราะไม่ต้องลักษณะองค์ประเคน  คือ การช่วยกัน

     ยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๑  

     การจับผ้าปูโต๊ะประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๓ ฯ

๑๐.   อธิกรณ์ คืออะไร ? เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร ?

๑๐.    คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ ฯ  

          ต้องระงับด้วยอธิกรณสมถะอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่อธิกรณ์นั้น ๆ ฯ

***********

จำหน่ายรวมแนวข้อสอบเก่า  นักธรรมชั้นตรี  ชั้นโท ชั้นเอก    085-0127724

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
คำสั่ง :     จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
    ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)

๑.  ผู้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีธรรมอะไร ?
    ก. ธรรมมีอุปการะมาก    ข. ธรรมอันทำให้งาม
    ค. ธรรมเป็นโลกบาล        ง. ธรรมเป็นเครื่องเจริญ
    คำตอบ : ก    
๒.  การรณรงค์เรื่องเมาไม่ขับ ส่งเสริมให้มีธรรมข้อใด ?
    ก. สติ    ข. สัมปชัญญะ
    ค. ขันติ    ง. โสรัจจะ
    คำตอบ : ก    
๓.  ถ้าสติเปรียบเหมือนดวงไฟ สัมปชัญญะจะเปรียบเหมือนอะไร ?
    ก. ควันไฟ    ข. แสงไฟ
    ค. คนจุดไฟ    ง. เชื้อไฟ
    คำตอบ : ข    
๔.  คนขาดศีลธรรม เพราะไม่มีธรรมใดเป็นพื้นฐาน ?
    ก. สติ สัมปชัญญะ    ข. ขันติ โสรัจจะ
    ค. หิริ โอตตัปปะ    ง. ถูกทุกข้อ
    คำตอบ : ค    
๕.  คนมีโอตตัปปะมีลักษณะเช่นไร ?
    ก. กลัวถูกลงโทษ    ข. กลัวเสียชื่อเสียง
    ค. กลัวตกนรก     ง. ถูกทุกข้อ
    คำตอบ : ง    
๖.  ผู้มุ่งให้กาย วาจา ใจงดงาม ควรประพฤติธรรมอะไร ?
    ก. สติ สัมปชัญญะ    ข. ขันติ โสรัจจะ
    ค. หิริ โอตตัปปะ    ง. กตัญญู กตเวที
    คำตอบ : ข
๗.  ความงามอะไร ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ?
    ก. งามเสื้อผ้าอาภรณ์    ข. งามรูปร่างหน้าตา
    ค. งามกิริยามารยาท    ง. งามคุณธรรม
    คำตอบ : ง
๘.  เป็นเรืออย่าทิ้งท่า เป็นเสืออย่าทิ้งป่า สอนให้มีธรรมอะไร ?
    ก. สติ สัมปชัญญะ    ข. กตัญญู กตเวที
    ค. หิริ โอตตัปปะ    ง. ขันติ โสรัจจะ
    คำตอบ : ข
๙. บุพพการี ชื่อว่าหาได้ยาก เพราะถูกอะไรครอบงำ ?
    ก. ความไม่รู้    ข. ความตระหนี่
    ค. ความโกรธ    ง. ตัณหา
    คำตอบ : ข
๑๐. ชาวพุทธควรยึดถืออะไรเป็นที่พึ่งที่ระลึก ?
    ก. ไตรปิฎก    ข. ไตรลักษณ์
    ค. ไตรรัตน์    ง. ไตรสิกขา
    คำตอบ : ค
๑๑. ที่เรียกว่าพระพุทธศาสนานั้น หมายถึงอะไร ?  
    ก. พระรัตนตรัย    ข. พระธรรมวินัย
    ค. ไตรสิกขา    ง. พระปาติโมกข์
    คำตอบ : ข
๑๒. พระธรรม คืออะไร ?
    ก. ระเบียบข้อบังคับ    ข. ธรรมชาติ
    ค. คำสั่งสอน    ง. คำตักเตือน
    คำตอบ : ค
๑๓. คำสอนที่เป็นหลักการในพระพุทธศาสนา ตรงกับข้อใด ?
    ก. โอวาท ๓    ข. สิกขา ๓
    ค. สุจริต ๓    ง. ปิฎก ๓
    คำตอบ : ก
๑๔. การเว้นจากทุจริตทั้งปวง เป็นคำสอนในลักษณะใด ?
    ก. ทาน     ข. ศีล
    ค. ภาวนา     ง. ปัญญา
    คำตอบ : ข
๑๕. คำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเจ็บช้ำใจหรือบันดาลโทสะ ตรงกับข้อใด ?
    ก. คำเท็จ    ข. คำหยาบ
    ค. คำส่อเสียด    ง. คำเพ้อเจ้อ
    คำตอบ : ข
๑๖. วจีสุจริตข้อใด ส่งเสริมให้เกิดความสมานฉันท์ ?  
    ก. ไม่พูดเท็จ     ข. ไม่พูดคำหยาบ
    ค. ไม่พูดส่อเสียด    ง. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
    คำตอบ : ค
๑๗. เห็นอย่างไร ชื่อว่าเห็นไม่ผิดจากคลองธรรม ?  
    ก. ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ    ข. บุญบาปไม่มี
    ค. พ่อแม่ไม่มีคุณ     ง. ดีเองชั่วเอง
    คำตอบ : ก
๑๘. คนขายยาบ้า เพราะมีอะไรเป็นมูล ?
    ก. โลภะ    ข. โทสะ
    ค. โมหะ     ง. ราคะ
    คำตอบ : ก
๑๙. ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะของโทสะ ?
    ก. กลุ้มใจ เสียใจ    ข. รำคาญ หงุดหงิด
    ค. โกรธ เกลียด     ง. อยากได้ งมงาย
    คำตอบ : ง
๒๐. มีโทษมากและคลายช้า คือข้อใด ?
    ก. โลภะ    ข. โทสะ
    ค. โมหะ    ง. ราคะ
    คำตอบ : ค
๒๑. อโลภะ เป็นมูลของอะไร ?
    ก. ทาน    ข. ศีล
    ค. ภาวนา    ง. เมตตา
    คำตอบ : ก
๒๒. คนเช่นไร ชื่อว่าสัตบุรุษ ?  
    ก. รู้จักทำมาหากิน    ข. ขยันไม่เกียจคร้าน
    ค. มีน้ำใจแบ่งปัน    ง. ทำดี พูดดี คิดดี
    คำตอบ : ง
๒๓. เสียสละ ถือบวช ดูแลบิดามารดา เป็นธรรมหมวดใด ?
    ก. อปัณณกปฏิปทา    ข. สัปปุริสบัญญัติ
    ค. บุญกิริยาวัตถุ        ง. สามัญลักษณะ
    คำตอบ : ข
๒๔. ความสุขกายสุขใจ เกิดจากการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุข้อใด ?
    ก. ให้ทาน    ข. รักษาศีล
    ค. เจริญภาวนา    ง. ถูกทุกข้อ
    คำตอบ : ง
๒๕. ข้อใด เป็นเหตุให้เกิดสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ?
    ก. สั่งสมความสุข    ข. สั่งสมบุญ
    ค. สั่งสมความรู้      ง. สั่งสมทรัพย์
    คำตอบ : ข
๒๖. ความเจริญและความเสื่อมของบุคคล ขึ้นอยู่กับอะไร ?
    ก. การศึกษา    ข. การปฏิบัติ
    ค. การมีบริวาร    ง. การมีทรัพย์
    คำตอบ : ข
๒๗. คนเช่นไร ไม่สามารถจะทรงความเที่ยงธรรมไว้ได้ ?
    ก. มีเมตตากรุณา    ข. กล้าได้กล้าเสีย
    ค. มีใจเด็ดเดี่ยว    ง. มีความลำเอียง
    คำตอบ : ง
๒๘. ให้รางวัลแก่คนไม่ควรให้เพราะเสน่หา จัดเป็นอคติข้อใด ?  
    ก. ฉันทาคติ    ข. โทสาคติ
    ค. โมหาคติ    ง. ภยาคติ
    คำตอบ : ก
๒๙. ผิดพลาดไปแล้ว พยายามกลับตัวเป็นคนดี ตรงกับข้อใด ?  
    ก.  สังวรปธาน     ข. ปหานปธาน
    ค. ภาวนาปธาน      ง. อนุรักขนาปธาน
    คำตอบ : ข
๓๐. จงรักษาความดี ดุจเกลือรักษาความเค็ม ตรงกับข้อใด ?
    ก.  สังวรปธาน     ข. ปหานปธาน
    ค. ภาวนาปธาน      ง. อนุรักขนาปธาน
    คำตอบ : ง
๓๑. จาคะ ในอธิษฐานธรรม มีความหมายว่าอย่างไร ?
    ก. แบ่งปันสิ่งของแก่ผู้ประสบภัย
    ข. สละทรัพย์สร้างสวนสาธารณะ
    ค. สละสิ่งเป็นข้าศึกความจริงใจ
    ง. บริจาคโลหิตช่วยเหลือผู้ป่วย
    คำตอบ : ค
๓๒. จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เพราะมีธรรมหมวดใด ?  
                  ก. จักร ๔    ข. อิทธิบาท ๔
    ค. วุฒิ ๔    ง. ปธาน ๔
    คำตอบ : ข
๓๓. หมั่นทบทวนหาเหตุผลในสิ่งที่ทำ ตรงกับข้อใด ?
    ก. ฉันทะ    ข. วิริยะ
      ค. จิตตะ        ง. วิมังสา
    คำตอบ : ง


๓๔. ควรแผ่พรหมวิหารข้อใด ไปยังสัตว์ผู้มีทุกข์ ?
ก. เมตตา    ข. กรุณา
ค. มุทิตา        ง. อุเบกขา
คำตอบ : ข
๓๕. ในการพิจารณาคดีความ ควรยึดธรรมข้อใดเป็นหลัก ?
     ก. เมตตา    ข. กรุณา
     ค. มุทิตา    ง. อุเบกขา
    คำตอบ : ง
๓๖. อริยทรัพย์ หมายถึงทรัพย์ในข้อใด ?
     ก. ทรัพย์ภายนอก    ข. ทรัพย์ภายใน
     ค. ทรัพย์สิน    ง. ทรัพย์มรดก
    คำตอบ : ข
๓๗. ข้อใด เป็นอนันตริยกรรม ?
    ก. เผาโรงเรียน        ข. ทำลายทรัพย์สิน
    ค. ทำร้ายร่างกาย         ง. ทำสงฆ์ให้แตกกัน
    คำตอบ : ง
๓๘. ข้อใด ไม่นับเข้าในอานิสงส์ของการฟังธรรม ?
    ก. ได้ความเพลิดเพลิน     ข. ได้ฟังเรื่องใหม่ ๆ
    ค. มีจิตใจผ่องใส         ง. บรรเทาความสงสัย
    คำตอบ : ก
๓๙. สติในพละ ๕ เปรียบเทียบได้กับข้อใด ?  
      ก. เรือ                        ข. หางเสือเรือ
      ค. คนพายเรือ        ง. ท่าจอดเรือ
    คำตอบ : ข
๔๐. สังขารในขันธ์ ๕ ตรงกับข้อใด ?
    ก. การรับรู้อารมณ์        ข. ความคิดปรุงแต่ง
    ค. สิ่งที่มีใจครอง        ง. สิ่งที่มองเห็นได้
    คำตอบ : ข
๔๑. รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา ภายหน้าเติบใหญ่ได้งานทำ ตรงกับข้อใด ?  
    ก. เคารพในพระพุทธเจ้า     ข. เคารพในพระสงฆ์
       ค. เคารพในการศึกษา           ง. เคารพในหน้าที่
    คำตอบ : ค
๔๒. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ จัดเข้าในสัปปุริสธรรมข้อใด ?  
    ก. รู้จักตน        ข. รู้จักประมาณ
    ค. รู้จักชุมชน        ง. รู้จักบุคคล
    คำตอบ : ง
๔๓. ช้าเสียการ นานเสียกิจ จัดเข้าในสัปปุริสธรรมข้อใด ?
    ก. รู้จักเหตุ     ข. รู้จักผล
    ค. รู้จักกาล    ง. รู้จักประมาณ
    คำตอบ : ค
๔๔. จน เครียด กินเหล้า แล้วไม่ทำงาน จัดเป็นคนเช่นไร ?  
    ก. เกียจคร้าน     ข. เจ็บป่วย
    ค. ตกงาน    ง. สิ้นหวัง
    คำตอบ : ก
๔๕. ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา เป็นลักษณะของมิตรเทียมประเภทใด ?  
    ก. คนปอกลอก    ข. คนดีแต่พูด
    ค. คนหัวประจบ    ง. คนชักชวนให้ฉิบหาย
    คำตอบ : ค
๔๖. มิตรเทียมเช่นไร ควรหลีกหนีให้ไกลสุด ?  
ก. คนปอกลอก     ข. คนหัวประจบ
    ค. คนดีแต่พูด         ง. คนชักชวนให้ฉิบหาย
    คำตอบ : ง
๔๗. ห้ามชั่ว แนะดี ชี้ทางสวรรค์ เป็นมิตรประเภทใด ?
    ก. มิตรมีอุปการะ    ข. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
    ค. มิตรแนะประโยชน์    ง. มิตรมีความรักใคร่
    คำตอบ : ค
๔๘. การช่วยเหลือประโยชน์ส่วนรวม ตรงกับสังคหวัตถุข้อใด ?
    ก. ทาน     ข. ปิยวาจา
    ค. อัตถจริยา     ง. สมานัตตตา
    คำตอบ : ค
๔๙. ครูอาจารย์ ได้แก่บุคคลในทิศใด ?  
    ก. ทิศเบื้องขวา    ข. ทิศเบื้องซ้าย
    ค. ทิศเบื้องหน้า    ง. ทิศเบื้องหลัง
    คำตอบ : ก
๕๐. อยู่เลี้ยงกาย ตายเลี้ยงวิญญาณ เป็นหน้าที่ของใคร ?
    ก. บิดามารดา      ข. บุตรธิดา
    ค. ครูอาจารย์    ง. มิตรสหาย
    คำตอบ : ข
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้