อัลบัมที่1
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี พ.ศ. 2546 ได้ตราขึ้นตาม กฎหมาย ข้อใด
ก. กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539
ข. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539
ค. กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ง. ถูกทุกข้อ
2. ในทางปฏิบัติราชการส่วนใดจะปฏิบัติเมื่อใดต้องมีเงื่อนไขอย่างไร ใครเป็นผู้กำหนดให้ปฏิบัติตามพระราช กฤษฎีกานี้
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ค. นายกรัฐมนตรี ง. คณะรัฐมนตรี
3. ใครมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ (แก่คณะรัฐมนตรี) ก่อนจะปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในการที่จะให้ส่วนราชการปฏิบัติเมื่อใดและจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใดบ้าง
ก. คณะรัฐมนตรี ข. ก.พ.
ค. ก.พ ง. ก.พ.อ.
4. คำว่า "ส่วนราชการ" ตามความหมายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี พ.ศ.2546 นั้นให้ความหมายถึงส่วนราชการตามกฎหมายข้อใด
ก. ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ข. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ค. ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม
ง. ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
5. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นจะต้องบริหารราชการให้บรรลุเป้าหมายทั้งหมดกี่ประการ
ก. 7 ประการ ข. 6 ประการ
ค. 5 ประการ ง. 4 ประการ
6. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นเป้าหมายสูงสุดคือข้อใด
ก. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ข. เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน
ค. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
ง. เกิดผลคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
7. ความบริหารของการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลตามข้อใด
ก. ความผาสุขของประชาชน
ข. ความอยู่ดีของประชาชน
ค. ความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน
ง. ถูกต้องทั้งหมด
8. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยเอาอะไรเป็นศูนย์กลางในการบริหารกิจการ
ก. หน่วยราชการ ข. ประเทศ
ค. สังคมและชุมชน ง. ประชาชน
9. ในการกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสุขของประชาชนและจะ สอดคล้องตามข้อใด
ก. สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญและ ก.พ.ร.กำหนด
ข. สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี
ค. สอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและแนสนโยบายกระทรวง
ง. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ
10. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนนั้นส่วนราชการจะต้องต้องมีแนวทางในการบริหารราชการกี่ประการ
ก. 5 ประการ ข. 6 ประการ
ค. 7 ประการ ง. 8 ประการ
11. ส่วนราชการใดที่จะต้องดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนนั้นจะต้องมีการกำหนดแนวทางการ บริหารราชการตามข้อใดเป็นอันดับแรก
ก. กำหนดภารกิจการบริหารกิจการราชการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ
ข. จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสียให้ครบทุกด้านที่กระทบต่อประชาชน
ค. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคก่อนการดำเนินการแล้วปรับปรุงโดยเร็ว
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
12. ในทางปฏิบัติหากมีกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการให้ส่วนราชการปฏิบัติตามข้อใด
ก. แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว
ข. แจ้งเรียนส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องได้ทราบปัญหา
ค. แจ้ง ก.พ.ร. ให้รับทราบ
ง. แจ้งผู้บังคับบัญชาให้แก้ไขระเบียบข้อบังคับมันโดยเร็ว
13. ในการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐส่วนราชการจะต้องปฏิบัติภารกิจนั้นจะต้องดำเนินการตามข้อใดเป็นอันดับแรก
ก. จัดทำแบบปฏิบัติราชการโดยมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณตลอดจนเป้าหมายของ ภารกิจนั้น
ข. รับความฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการมาศึกษาวิเคราะห์แล้วกำหนดภารกิจ
ค. จัดให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามภารกิจหลักเกณฑ์และวิธีที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น
ง. กำหนดภารกิจการบริหารราชการให้สอดคล้องกับ แนวนโยบายของรัฐ
14. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติราชการแผ่นดินโดยจัดทำ เป็นแผนตามข้อใด
ก. 2 ปี ข. 3 ปี ค. 4 ปี ง. 5 ปี
15. หน่วยงานใดขาดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่
ก. สำนักงบประมาณ
ข. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ค. ก และ ข ถูก
ง. ถูกเฉพาะข้อ ข เท่านั้น
16. ในการลดขั้นตอยการปฏิบัติงานนั้นส่วนราชการจะทำตามข้อใด
ก. กระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่งการอนุญาติการอนุมัติให้แก่ผู้ดำเนินการเรื่องนั้นได้โดดยตรง
ข. ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นและเพิ่มภารกิจที่บริการให้มากที่สุด
ค. ให้ประชาชนผู้ร่วมบริการรวมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมและศูนย์บริการเพียงแห่งเดียว
ง. ถูกทุกข้อ
17. ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนราชการจะจัดให้มีตามข้อใด
ก. กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกัน
ข. ให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการหรือข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ราชการของส่วนราชการนั้น
ค. ให้มีอำนาจออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเพื่อบังคับใช้
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
18. ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการคือข้อใด
ก. คณะ ก. ข. ก.พ.ร.
ค. ก.พ ง. คณะผู้ประเมินอิสระ
19. ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการอาจจัดให้มีการประเมินข้อใดบ้าง
ก. ผู้บังคับบัญชา ข. หน่วยงานในส่วนราชการ
ค. ข้าราชการ ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
20. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของภารกิจนี้ อย่างน้อยจะต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวข้องกับข้อใดบ้าง
ก. การลดขั้นตอน การปฏิบัติงานและการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
ข. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ค. เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนและไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติเกินความจำเป็น
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
21. ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ คือ
ก. สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข. สำนักนายกรัฐมนตรี
ค. กระทรวงมหาดไทย
ง. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เฉลยอัลบัมที่1
1. ค 2. ง 3. ค 4. ค 5. ก
6. ข 7. ง 8. ง 9. ข 10. ก
11. ก 12. ก 13. ก 14. ค 15. ค
16. ก 17. ง 18. ง 19. ง 20. ก 21. ค