ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ทดสอบความรู้ แน่จริงไหม
tankun ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

ทดสอบความรู้ แน่จริงไหม

อ้างอิง: กระทำโดย admin โดยการย้ายจากกระดานข่าว แนวข้อสอบตำรวจ 2554 เมื่อเวลา(2011-05-08)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
1.
ระเบียบนี้ใช้บังคับเมื่อ 1 มิถุนายน 2526
2.
ระเบียบ ข้อบังคับ มติ ครม. และคำสั่งอื่นใน ที่ขัดแย้งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
3.
ระเบียบนี้ใช้บังคับ แก่ ส่วนราชการ ถ้าส่วนราชการใด มีความจำเป็น จะ ปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่กำหนดให้ทำความตกลงกับผู้รักษา การตามระเบียบ(ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
4.
ถ้าระเบียบงานสารบรรณของ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย แห่งชาติ หรือ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการกำหนดวิธี ปฏิบัติไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย นั้น
5.
งานสารบรรณ หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
6.
หนังสือ หมายความว่า หนังสือราชการ
7.
อิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใด ลักษณะคล้ายกัน และให้หมายถึง การ ประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กับ การประยุกต์ใช้วิธีการต่าง ๆ เช่นว่านั้น
8.
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การรับส่ง ข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
9.
ส่วนราชการ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงาน อื่นใดของรัฐ ทั้งในส่วนราชการบริหารส่วนกลาง บริหารราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึง คณะกรรมการด้วย ๑
10.
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมาย จากก ทางราชการให้ปฏิบัติงานในเรื่องใด ๆ และให้หมายความถึง คณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือคณะบุคคลอื่นที่ปฏิบัติงานในลักษณะ เดียวกัน
11.
ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้รักษาการณ์ตามระเบียบนี้
ให้มีอำนาจ
1.
ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
2.
แก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก
3.
จัดทำคำอธิบาย

.
การตีความ , วินิจฉัยปัญหา , แก้ไขเพิ่มเติม , และจัดทำคำอธิบาย ปลัดสำนักนายกจะขอความเห็นจากคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุง และพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อประกอบให้มีหน้าที่

ให้มีหน้าที่
1.
ดำเนินการฝึกอบรม เกี่ยวกับงานสารบรรณ

ชนิดของหนังสือ
1.
หนังสือราชการคือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ ได้แก่

หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
(
ส่วนราชการ ส่วนราชการ)

1.1
หนังสือที่ ส่วนราชการ หน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วน ราชการ(เช่น สภาทนายความ), บุคคลภายนอก
1.2
หนังสือที่บุคคลภายนอก , หน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการ
ส่วนราชการ
1.3
เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้น เพื่อเป็นหลักฐานในทาง
ราชการ

สำคัญมาก…!
1.4
เอกสารที่ทางราชการ จัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือ ข้อบังคับ
1.5
ข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณ
อิเล็กทรอนิกส์
2.
หนังสือราชการมี 6 ชนิด
1.
หนังสือภายนอก
2.
หนังสือภายใน
3.
หนังสือประทับตรา
4.
หนังสือสั่งการ
5.
หนังสือประชาสัมพันธ์
6.
หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
หนังสือภายนอก
คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดย ใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือ ส่วนราชการมี ถึงหน่วยงานอื่นใดที่มิใช่ส่วนราชการ หรือ มีถึง บุคคลภายนอก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.
ที่
ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะ และ เลขประจำของเจ้าของเรื่อง ทับ เลขทะเบียนหนังสือส่ง สำหรับหนังสือของ คณะกรรมการให้กำหนดรหัสตัวพยัญชนะ เพิ่มขึ้นได้ตาม ความจำเป็น
2.
ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ
ให้ลงชื่อส่วนราชการ สถานที่ราชการหรือคณะกรรมการ ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้น และโดยปกติให้ลงที่ตั้งไว้ด้วย
3.
วัน เดือน ปี ๓ ๔
ให้ลงตัวเลขของ วันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลข ของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
4.
เรื่อง
ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ถ้า เป็นหนังสือต่อเนื่องโดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
5.
คำขึ้นต้น
ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ แล้วลงตำแหน่ง ของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึงหรือ ชื่อบุคคลในกรณีที่มีตัวบุคคลไม่ เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่
6.
อ้างถึง (ถ้ามี)
ให้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วน ราชการ ผู้รับหนังสือได้รับมาก่อนแล้ว จะจากส่วนราชการ ใดก็ตาม โดยให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ และ เลขที่หนังสือ วันที่ เดือน ปีพุทธศักราชของหนังสือนั้น การอ้างถึง ให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่ติดต่อกันเพียง ฉบับเดียว เว้นแต่มีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมา พิจารณา จึงอ้างถึง หนังสือฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง นั้นโดยเฉพาะให้ทราบด้วย
7.
สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี)
ให้ลงชื่อสิ่งของ เอกสารหรือบรรณสารที่ส่งไปพร้อมกับ หนังสือนั้น ในกรณีไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกันได้ ให้ แจ้งด้วยว่าส่งไปในทางใด
8.
ข้อความ
ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมี ความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อๆ
9.
คำลงท้าย ๕
ใช้คำลงท้ายตาม ฐานะของผู้รับหนังสือนั้น
1.
ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือ และให้พิมพ์ชื่อ เต็มของ เจ้าของรายมือชื่อ
2.
ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งเจ้าของหนังสือ
3.
ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของ เรื่อง หรือหน่วยงานที่ออก หนังสือ ถ้าส่วนราชการที่ออก หนังสืออยู่ในระดับกระทรวงหรือทบวง ให้ลงชื่อส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง ทั้งระดับกรมและกอง ถ้าส่วนราชการที่ออก หนังสือ อยู่ในระดับกรมลงมา ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของ เรื่องเพียงระดับกอง หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
4.
โทร ให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของ เรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกกหนังสือหรือหมายเลขภายใน ตู้สาขา (ถ้ามี) ไว้ด้วย โทรสาร ให้ลงหมายเลขโทรสาร ของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ ต่อจากหมายเลขโทรศัพท์
5.
สำเนาส่ง (ถ้ามี) ในกรณีที่ผู้ส่งจัดทำสำเนาส่งไปให้ส่วน ราชการ หรือบุคคลอื่นทราบ และประสงค์จะให้ผู้รับทราบ ว่าได้มีการส่งสำเนาไปให้ผู้ใดแล้ว ให้พิมพ์ชื่อเต็มหรือชื่อย่อ ของส่วนราชการ หรือชื่อบุคคลที่ส่งสำเนาไปให้เพื่อให้เป็นที่ เข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ถ้าหากมีรายชื่อที่ส่งมาก ให้ พิมพ์ว่าส่งไปตามรายชื่อที่แนบ และแนบรายชื่อไปด้วย

คือหนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือ ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึก ข้อความ มีรายละเอียดดังนี้
1.
ส่วนราชการ
ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือ หน่วยงานที่ออก หนังสือ โดยมีรายละเอียดพอสมควร ถ้าเป็นส่วนราชการ ระดับกรมขึ้นไป ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับ กรม และกอง ถ้าส่วนราชการอยู่ระดับต่ำกว่ากรมลงมาให้ ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกอง หรือถ้าต่ำกว่ากรมให้ลงส่วนราชการเจ้าของเรื่อง พร้อมทั้งหมายเลข โทรศัพท์ (ถ้ามี)
ที่
(
ลงรหัสตัวพยัญชนะ และตัวเลขประจำของเจ้าของเรื่อง / เลขทะเบียนหนังสือส่ง) ถ้าเป็นหนังสือของคณะกรรมการ กำหนดพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้
วันที่
ตัวเลขวันที่ ชื่อเต็มของเดือน ตัวเลขปีพุทธศักราช
เรื่อง
ย่อใจความสั้นที่สุด ถ้าเป็นหนังสือต่อเนื่องให้ลงเรื่องของ หนังสือฉบับเดิม
คำขึ้นต้น
ตามฐานะผู้รับ
ข้อความ


หนังสือภายใน ๗


สาระสำคัญ ชัดเจน เข้าใจง่าย ถ้ามีความ ประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อๆ และถ้ามีการอ้างถึง หรือ สิ่งที่ส่งมาด้วย ให้ระบุในข้อนี้

http://www.sobtid.com/
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้