ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ความรู้เกี่ยวกับกรมประชาสัมพันธ์, ข้อสอบ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ความรู้เกี่ยวกับกรมประชาสัมพันธ์, ข้อสอบ

         กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลไทย ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เสริมสร้างความเข้าใจ ระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกัน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่โน้มน้าวชักจูงประชาชน ให้ร่วมมือกับรัฐบาล และหน่วยงานราชการ
          ประวัติ

คลิกถูกใจเพื่อรับข้อสอบกรมประชาสัมพันธุ์

กรมประชาสัมพันธ์ มีวิวัฒนาการมาจาก “กองโฆษณาการ” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ต่อมาพัฒนาเป็น “สำนักงานโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน[3] พัฒนาขึ้นเป็น “กรมโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 และพัฒนามาเป็น “กรมประชาสัมพันธ์” ดังเช่นปัจจุบัน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495
ที่ตั้งสำนักงาน

สำนักงานกรมประชาสัมพันธ์ เดิมตั้งอยู่ที่ อาคารหัวมุมถนนราชดำเนิน ติดกับกรมสรรพากร และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสถานที่เกี่ยวข้องในประวัติศาสตร์ทางการเมืองหลายครั้ง ในการรัฐประหารทุกครั้ง จะเป็นสถานที่แรกๆ ที่ถูกกำลังทหารเข้ายึด รวมทั้งใน เหตุการณ์ 14 ตุลา และ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ก็ถูกประชาชนเข้ายึด [4] หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ อาคารกรมประชาสัมพันธ์ ถูกเพลิงไหม้เสียหายอย่างหนัก จึงย้ายไปตั้ง ณ อาคารเลขที่ 9 ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร จนถึงปัจจุบัน
ตราสัญลักษณ์

ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ" ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์ เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบ[5] โดยอิงตามคติในวรรณคดีโบราณว่า พระอินทร์มีหน้าที่เป่าสังข์ชื่อ "ปาญจนันท์" ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่างๆ ในโลก และโดยความเชื่อในศาสนาฮินดู สังข์ถือเป็นมงคลสามประการคือ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวท และตัวสังข์มีรอยนิ้วพระหัตถ์ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนาพราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย สอดคล้องกับหลักการประชาสัมพันธ์ ที่เป็นการเผยแพร่ชี้แจงประชาชนให้เข้าใจอย่างกว้างขวาง และสร้างความเข้าใจอันดี จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์เพื่อเรียกประชุมของเทวดา ตราสัญลักษณ์นี้ใช้สีม่วงเป็นสีหลักของตรา ซึ่งเป็นสีของงานประชาสัมพันธ์ และใช้มาจนกระทั่งเป็นกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน[6]
ส่วนราชการในสังกัด

ตามพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2540[7] มีส่วนราชการในสังกัด ดังต่อไปนี้
ตราอัตลักษณ์ของ สทท.
ตราอัตลักษณ์ของ สวท.
คลิกถูกใจเพื่อรับข้อสอบกรมประชาสัมพันธุ์
   
    สำนักเลขานุการกรมประชาสัมพันธ์
    กองคลัง
    กองการเจ้าหน้าที่
    กองกฎหมายและระเบียบ
    กองงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กองงาน กกช.)
    ศูนย์สารสนเทศการประชาสัมพันธ์
        พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง
        หอจดหมายเหตุกรมประชาสัมพันธ์
    สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.)
        สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค
        สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา (สวศ.)
    สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.)
        สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค
        สถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี (ให้เอกชนเช่าสัมปทาน)
        สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี (สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ; ยุติการออกอากาศแล้ว)
        สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็นบีที (ร่วมผลิตกับเอกชน)
    สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ
    สำนักข่าวแห่งชาติ (สขช.)
    สำนักงานที่ปรึกษาการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ
    สำนักประชาสัมพันธ์เขต และสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด
        สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 จังหวัดขอนแก่น
        สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี
        สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่
        สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 จังหวัดพิษณุโลก

เว็บไซด์กรมประชาสัมพันธุ์
        สำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
        สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 จังหวัดสงขลา
        สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 จังหวัดจันทบุรี
        สำนักประชาสัมพันธ์เขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี
    สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์
        สถาบันการประชาสัมพันธ์
    สำนักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์
    สำนักส่งเสริมและพัฒนางานเทคนิค


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้