พระราชบัญญัติ
ปิโตรเลียม
พ.ศ. ๒๕๑๔
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
เป็นปีที่ ๒๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ
และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“กิจการปิโตรเลียม” หมายความว่า การสำรวจ ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง ขาย หรือจำหน่ายปิโตรเลียม
“ปิโตรเลียม”
หมายความว่า น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลวสารพลอยได้
และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และอยู่ในสภาพอิสระ
ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นของแข็ง ของหนืด ของเหลว หรือก๊าซ
และให้หมายความรวมถึงบรรดาไฮโดรคาร์บอนหนักที่อาจนำขึ้นมาจากแหล่งโดยตรง
โดยใช้ความร้อนหรือกรรมวิธีทางเคมี แต่ไม่หมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน
หรือหินอื่นที่สามารถนำมากลั่นเพื่อแยกเอาน้ำมันด้วยการใช้ความร้อนหรือ
กรรมวิธีทางเคมี
“น้ำมัน
ดิบ” หมายความว่า น้ำมันแร่ดิบ แอสฟัลท์ โอโซเคอไรท์
ไฮโดรคาร์บอนและบิทูเมนทุกชนิดที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่ว่าในสภาพของแข็ง
ของหนืด หรือของเหลว และให้หมายความรวมถึงก๊าซธรรมชาติเหลวด้วย
“น้ำมัน
ดิบที่ส่งออก” หมายความว่า น้ำมันดิบที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ไม่ว่าการส่งออกน้ำมันดิบจะกระทำโดยผู้รับสัมปทานหรือผู้อื่น
และให้หมายความรวมถึงส่วนของน้ำมันดิบที่ผู้รับสัมปทานได้ขายหรือจำหน่ายใน
ราชอาณาจักร
และได้มีการนำน้ำมันดิบดังกล่าวไปกลั่นเป็นผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์นั้นถูกส่ง
ออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
ตามปริมาณที่คำนวณได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๘๙ (๑)
“ก๊าซ
ธรรมชาติ” หมายความว่า
ไฮโดรคาร์บอนที่มีสภาพเป็นก๊าซทุกชนิดไม่ว่าชื้นหรือแห้ง
ที่ผลิตได้จากหลุมน้ำมันหรือหลุมก๊าซ
และให้หมายความรวมถึงก๊าซที่เหลือจากการแยกไฮโดรคาร์บอนในสภาพของเหลวหรือ
สารพลอยได้ออกจากก๊าซชื้นด้วย
“ก๊าซ
ธรรมชาติเหลว” หมายความว่า
ไฮโดรคาร์บอนที่มีสภาพเป็นของเหลวหรือที่มีความดันไอสูงซึ่งผลิตขึ้นมาได้
พร้อมกับก๊าซธรรมชาติ หรือได้มาจากการแยกออกจากก๊าซธรรมชาติ
“สารพลอยได้” หมายความว่า ก๊าซฮีเลียม คาร์บอนไดออกไซด์ กำมะถัน และสารอื่นที่ได้จากการผลิตปิโตรเลียม
“สำรวจ”
หมายความว่า
ดำเนินการตามมาตรฐานในการค้นหาปิโตรเลียมโดยใช้วิธีการทางธรณีวิทยา
ธรณีฟิสิคส์ และอื่น ๆ
และให้หมายความรวมถึงเจาะเพื่อทดสอบชั้นหินเพื่อให้ทราบว่ามีปิโตรเลียมอยู่
หรือไม่เพียงใด เพื่อกำหนดวงเขตแหล่งสะสมปิโตรเลียม
หรือเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างอื่นอันเป็นสาระสำคัญที่จำเป็นแก่การผลิต
ปิโตรเลียมด้วย
“ผลิต”
หมายความว่า ดำเนินการใด ๆ เพื่อนำปิโตรเลียมขึ้นจากแหล่งสะสม
และให้หมายความรวมถึง ใช้กรรมวิธีใด ๆ
เพื่อทำให้ปิโตรเลียมอยู่ในสภาพที่จะขาย หรือจำหน่ายได้
แต่ไม่หมายความถึงกลั่น ประกอบอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม
ประกอบอุตสาหกรรมโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลวหรือโรงอัดก๊าซ
“เก็บรักษา” หมายความว่า ดำเนินการใด ๆ เพื่อรวมและรักษาปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานผลิตได้
“ขน
ส่ง” หมายความว่า ดำเนินการใด ๆ
เพื่อนำปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานผลิตได้จากแหล่งผลิตไปยังสถานที่เก็บ
รักษา สถานที่ขายหรือจำหน่าย สถานที่รับซื้อ
และสถานที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
และให้หมายความรวมถึงขนส่งปิโตรเลียมนั้นระหว่างสถานที่ดังกล่าวด้วย
“ขาย” หมายความรวมถึงแลกเปลี่ยนและโอนโดยมีค่าตอบแทนด้วย
“จำหน่าย” หมายความว่า
(๑)
ส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อการกลั่นน้ำมัน
ไม่ว่าโรงกลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่
(๒)
ส่งก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซ
หรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อกิจการดังกล่าว ไม่ว่าโรงแยกก๊าซ
โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซ
หรือสถานที่เก็บรักษาดังกล่าวจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่
(๓) นำปิโตรเลียมไปใช้ในกิจการใด ๆ ของผู้รับสัมปทานหรือของผู้อื่นโดยไม่มีการขาย หรือ
(๔) โอนปิโตรเลียมโดยไม่มีค่าตอบแทน
“ราคา
ตลาด” หมายความว่า ราคาในตลาดเปิดเผย หากไม่มีราคาดังกล่าว หมายความว่า
ราคาที่พึงคิดกันระหว่างบุคคลซึ่งเป็นอิสระต่อกันโดยไม่มีความสัมพันธ์ใน
ด้านทุนหรือการจัดการ
“ราคาประกาศ” หมายความว่า ราคาที่ประกาศตามมาตรา ๕๙
“แปลงสำรวจ” หมายความว่า เขตพื้นที่ที่กำหนดขึ้นสำหรับการสำรวจปิโตรเลียม
“พื้นที่ผลิต” หมายความว่า เขตพื้นที่ที่กำหนดขึ้นสำหรับการผลิตปิโตรเลียม
“ราช
อาณาจักร”
หมายความรวมถึงเขตไหล่ทวีปที่เป็นสิทธิของประเทศไทยตามหลักกฎหมายระหว่าง
ประเทศที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปและตามสัญญากับต่างประเทศด้วย
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทจำกัด และนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการปิโตรเลียม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การประกอบกิจการปิโตรเลียมทั่วราชอาณาจักร
มาตรา
๖ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม
ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม แต่ถ้ากระทรวง ทบวง
กรมใดผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งปิโตรเลียมที่มีสมรรถนะเชิงพาณิชย์
ให้นำบทบัญญัติหมวด ๗ ว่าด้วยค่าภาคหลวงมาใช้บังคับ
มาตรา
๗ ห้ามมิให้ผู้ใดทำลาย ดัดแปลง เคลื่อนย้าย ถอน
หรือทำให้หลุดซึ่งเครื่องหมายกำหนดเขตแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิต
หรือเครื่องหมายหลักฐานการแผนที่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นำมาติดตั้ง ปัก
หรือฝังไว้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี
มาตรา
๘ หนังสือหรือคำสั่งที่มีถึงบุคคลใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้นำไปส่งในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของผู้รับ หรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
ถ้า
ไม่สามารถจะส่งตามวิธีดังกล่าวในวรรคหนึ่งด้วยเหตุใด ๆ
ให้ส่งโดยวิธีปิดหนังสือหรือคำสั่งไว้ ณ ที่เห็นได้ง่ายที่ประตูบ้าน
สำนักงาน ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของผู้รับ
หรือจะส่งโดยวิธีย่อความในหนังสือหรือคำสั่งนั้นลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ก็ได้
เมื่อได้ส่งตามวิธีดังกล่าวในวรรคสองและเวลาได้ล่วงพ้นไปเจ็ดวันแล้ว ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รับหนังสือหรือคำสั่งนั้นแล้ว
มาตรา ๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในบริเวณที่ที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมและสถานที่ทำการของผู้รับ
สัมปทานในเวลาทำการเพื่อตรวจกิจการปิโตรเลียมให้เป็นไปตามสัมปทานและตามพระ
ราชบัญญัตินี้
(๒) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานงดเว้นการปฏิบัติใด ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
(๓) นำปิโตรเลียม หิน ดิน และสิ่งที่ได้จากการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ
ผู้
รับสัมปทานมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตาม (๒)
ต่ออธิบดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำสั่ง คำสั่งของอธิบดีให้เป็นที่สุด
การ
อุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสองไม่เป็นเหตุทุเลาการปฏิบัติ
ตามคำสั่ง เว้นแต่อธิบดีเห็นสมควรให้ทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
มาตรา ๑๐ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
มาตรา ๑๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา
๑๒ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสัมปทานหรือพระราชบัญญัติ
นี้ และการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน
หรือทำให้ทบวงการเมืองใดต้องกระทำการเพื่อบำบัดปัดป้องความเสียหายเช่นว่า
นั้น
ผู้รับสัมปทานต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายและค่าใช้จ่ายในการ
บำบัดปัดป้องความเสียหายดังกล่าวตามจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนด
แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับ
สัมปทานเพราะการละเมิดนั้น
มาตรา ๑๓ สิทธิในการถือสัมปทานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน*รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวง
(๑) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำรวจ ผลิต และอนุรักษ์ปิโตรเลียม
(๒) กำหนดเขตปลอดภัยและเครื่องหมายในบริเวณที่มีสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
(๓) กำหนดวิธีการให้ความคุ้มครองแก่คนงานและความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก
(๔) กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
(๕) กำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๒
คณะกรรมการปิโตรเลียม
มาตรา
๑๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการปิโตรเลียม”
ประกอบด้วยปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมที่ดิน
อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมสรรพากร
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม
ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม
และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินห้าคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความ
รู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในสาขาธรณีวิทยา วิศวกรรมศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ การเงิน กฎหมาย
หรือสาขาอื่นอันจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการปิโตรเลียม เป็นกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นข้าราชการในส่วนราชการที่มีกรรมการโดยตำแหน่งสังกัดอยู่
ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และอธิบดีจะแต่งตั้งข้าราชการในกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
มาตรา ๑๖ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีตามมาตรา ๒๒
(๒) ให้ความเห็นชอบแก่อธิบดีตามมาตรา ๒๒/๑
(๓) ทำความตกลงราคาขายก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักรตามมาตรา ๕๘
(๔) อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามมาตรา ๖๕
(๕) มีคำสั่งเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๙
(๖) มีคำสั่งเกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๗๐
(๗)
ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ
คณะกรรมการ
มาตรา ๑๖/๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕)
ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น
กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๖)
ไม่เป็นกรรมการ หรือผู้บริหาร
หรือผู้มีอำนาจในการจัดการหรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลหรือองค์กรที่ดำเนิน
ธุรกิจหรือดำเนินกิจการด้านปิโตรเลียม
และไม่ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดที่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัด
แย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ
มาตรา ๑๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ใน
กรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้ง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
มาตรา ๑๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖/๑
เมื่อ
ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนวาระ
ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้
ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง
ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
ใน
กรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่ม
ขึ้นหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
มาตรา ๑๙ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มาตรา ๒๐ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา
๒๑ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการ
เพื่อให้ทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องใด ๆ
อันอยู่ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของคณะกรรมการ
ตลอดจนเชิญบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย คำแนะนำหรือความเห็นได้
ให้นำความในมาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการ
หมวด ๓
การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
มาตรา ๒๒ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้สัมปทานตามมาตรา ๒๓
(๒) ต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๕
(๓) ต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๖
(๔) อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงปริมาณงานตามมาตรา ๓๐
(๕) อนุมัติให้โอนข้อผูกพันระหว่างแปลงสำรวจตามมาตรา ๓๓
(๖) อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานรับบริษัทอื่นเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา ๔๗
(๗) อนุญาตให้โอนสัมปทานตามมาตรา ๕๐
(๘) เพิกถอนสัมปทานตามมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓
(๙)
แจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบว่ารัฐบาลจะเข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมใน
พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งด้วยความเสี่ยงภัยแต่ฝ่ายเดียวตามมาตรา ๕๒ ทวิ
(๑๐) สั่งให้ผู้รับสัมปทานจัดหาปิโตรเลียมเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๐
(๑๑) ประกาศห้ามส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๑
(๑๒) สั่งให้ผู้รับสัมปทานร่วมกันผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๗๒
(๑๓) สั่งให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมตามมาตรา ๘๓
(๑๔) อนุมัติให้ชำระค่าภาคหลวงเป็นเงินตราสกุลต่างประเทศตามมาตรา ๘๗
(๑๕) ลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมตามมาตรา ๙๙ ทวิ และมาตรา ๙๙ ตรี
(๑๖) กำหนดค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจตามมาตรา ๑๐๐ ฉ
การดำเนินการตาม (๑) (๓) (๗) หรือ (๑๕) ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๒๒/๑ อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ขยายอายุสัมปทานตามมาตรา ๒๗
(๒) อนุมัติการกำหนดพื้นที่ผลิตตามมาตรา ๔๒
(๓) อนุญาตให้ขยายระยะเวลาเริ่มผลิตตามมาตรา ๔๒ ทวิ
(๔)
มอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าดำเนินการบำบัดปัดป้องความโสโครกอันเนื่องจากการ
ประกอบกิจการปิโตรเลียมแทนหรือร่วมกับผู้รับสัมปทานตามมาตรา ๗๕
(๕)
ให้ความเห็นชอบแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก
หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าดำเนินการรื้อถอนแทนหรือร่วมกับผู้รับสัมปทาน
ตามมาตรา ๘๐/๑
มาตรา ๒๓ ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือของบุคคลอื่น ต้องได้รับสัมปทาน
การขอสัมปทานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
แบบสัมปทานให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๔ ผู้ขอสัมปทานต้อง
(๑) เป็นบริษัท และ
(๒) มีทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญ เพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม
ใน
กรณีที่ผู้ขอสัมปทานไม่มีลักษณะครบถ้วนตาม (๒)
ต้องมีบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือและมีลักษณะตาม (๒)
และมีความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือการจัดการกับผู้ขอสัมปทาน รับรองที่จะให้ทุน
เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต
ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม
มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๕ ระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามสัมปทานให้มีกำหนดไม่เกินหกปีนับแต่วันให้สัมปทาน
ใน
กรณีที่ผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมให้ผู้รับ
สัมปทานยื่นคำขอต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม
พร้อมกับเสนอข้อผูกพันในด้านปริมาณเงินปริมาณงาน
หรือทั้งปริมาณเงินและปริมาณงานสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในช่วงข้อผูกพัน
ช่วงที่สามก่อนสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมไม่น้อยกว่าหกเดือน
แต่ถ้าผู้รับสัมปทานขอสำรวจปิโตรเลียมไม่เกินสามปี
ไม่มีสิทธิขอต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมอีก
การ
ต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมให้กระทำได้เมื่อผู้รับสัมปทานได้ปฏิบัติตาม
สัมปทานทุกประการและได้ตกลงในเรื่องข้อผูกพันช่วงที่สาม
สำหรับการสำรวจปิโตรเลียมก่อนสิ้นช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองไม่น้อยกว่าสิบห้า
วัน
การต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม ให้กระทำได้เพียงครั้งเดียวเป็นเวลาไม่เกินสามปี
มาตรา
๒๖ ระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามสัมปทานให้มีกำหนดไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันถัด
จากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม
แม้จะมีการผลิตปิโตรเลียมในระหว่างระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมด้วยก็ตาม
ใน
กรณีที่ผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม
ให้ผู้รับสัมปทานยื่นคำขอต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมก่อนสิ้นระยะเวลาผลิต
ปิโตรเลียมไม่น้อยกว่าหกเดือน
การ
ต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมให้กระทำได้เมื่อผู้รับสัมปทานได้ปฏิบัติตาม
สัมปทานทุกประการและได้ตกลงในเรื่องข้อกำหนด ข้อผูกพัน
และเงื่อนไขที่ใช้อยู่ทั่วไปในขณะนั้นก่อนสิ้นระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมไม่
น้อยกว่าสิบห้าวัน
การต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมให้กระทำได้เพียงครั้งเดียวเป็นเวลาไม่เกินสิบปี
มาตรา
๒๗ ในกรณีที่การสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมหรือการเก็บรักษาหรือขนส่ง
ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่กระทบกระเทือนต่อการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในแปลง
สำรวจแปลงใดต้องหยุดชะงักลงเป็นส่วนใหญ่เพราะเหตุที่มิใช่ความผิดของผู้รับ
สัมปทาน ถ้าผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอขยายอายุสัมปทาน
ให้แจ้งต่ออธิบดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบถึงเหตุที่มิใช่ความผิดของผู้
รับสัมปทานนั้น ในกรณีเช่นนี้
ให้อธิบดีขยายอายุสัมปทานในส่วนที่เกี่ยวกับแปลงสำรวจแปลงนั้นออกไปเท่ากับ
ระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานสามารถพิสูจน์ได้ว่าการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียม
ต้องหยุดชะงักลงเพราะเหตุที่มิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทาน
มาตรา ๒๘ ในการให้สัมปทาน ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดเขตพื้นที่แปลงสำรวจโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เขตพื้นที่แปลงสำรวจที่มิใช่อยู่ในทะเล ให้กำหนดพื้นที่ได้ไม่เกินแปลงละสี่พันตารางกิโลเมตร
เขตพื้นที่แปลงสำรวจในทะเล ให้รวมถึงพื้นที่เกาะที่อยู่ในเขตแปลงสำรวจนั้นด้วย
มาตรา ๒๙ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิต อธิบดีมีอำนาจสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดกำหนดเขตหรือตรวจสอบเขตได้
มาตรา ๓๐ ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันทั้งในด้านปริมาณเงิน และปริมาณงานสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมตามที่กำหนดในสัมปทาน
ใน
กรณีที่ปรากฏว่าปริมาณงานตามที่กำหนดไว้ในช่วงข้อผูกพันช่วงหนึ่ง ๆ
ของสัมปทานไม่เหมาะสมกับสภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่สัมปทาน
หรือในกรณีที่มีเทคโนโลยีการสำรวจปิโตรเลียมที่ทันสมัยขึ้น
เมื่อผู้รับสัมปทานขอเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันด้านปริมาณงาน
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงข้อผูกพันดังกล่าวได้ตามความเหมาะ
สมและถ้าการเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันนั้นทำให้ผู้รับสัมปทานใช้จ่ายเงินน้อยกว่า
จำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายตามข้อผูกพันเดิม
ผู้รับสัมปทานต้องจ่ายเงินส่วนที่ลดลงให้แก่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*ภายในสาม
สิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุมัติ
มาตรา ๓๑ ในการกำหนดข้อผูกพันตามมาตรา ๓๐ ให้แบ่งระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมออกเป็นสามช่วง ดังต่อไปนี้
ช่วง
ที่หนึ่ง ได้แก่ระยะเวลาสามปีแรกแห่งระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม
ในกรณีที่ระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมไม่ถึงสามปี
ได้แก่ระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในสัมปทาน
ช่วงที่สอง ได้แก่ระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมที่เหลือจากช่วงข้อผูกพันช่วงที่หนึ่ง
ช่วงที่สาม ถ้ามีการต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม ได้แก่ระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมที่ได้รับการต่อนั้น
ใน
กรณีที่มีการขยายอายุสัมปทานตามมาตรา ๒๗
ในช่วงข้อผูกพันช่วงใดให้ขยายช่วงข้อผูกพันช่วงนั้นออกไปเท่ากับระยะเวลาที่
ขยายอายุสัมปทานนั้น
ใน
ช่วงข้อผูกพันช่วงใดจะแบ่งการปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้นโดยกำหนดเป็นระยะเวลา
ไว้ในสัมปทานก็ได้ และในกรณีนี้
ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
นั้น
มาตรา
๓๒ เมื่อสิ้นช่วงข้อผูกพันช่วงหนึ่ง ๆ
หรือสิ้นระยะเวลาหนึ่งในช่วงข้อผูกพันช่วงหนึ่ง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในสัมปทาน
หรือในกรณีที่มีการคืนพื้นที่แปลงสำรวจทั้งแปลงในช่วงข้อผูกพันช่วงที่หนึ่ง
ถ้าผู้รับสัมปทานยังปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลง
สำรวจแปลงใดไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในสัมปทานผู้รับสัมปทานต้องจ่ายเงินส่วนที่
ยังมิได้ใช้จ่ายไปในช่วงข้อผูกพันช่วงนั้นหรือระยะเวลาระยะนั้นให้แก่กรม
เชื้อเพลิงธรรมชาติ*ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นช่วงข้อผูกพันหรือระยะเวลา
หรือวันคืนพื้นที่แปลงสำรวจแปลงนั้น แล้วแต่กรณี
มาตรา
๓๓ การโอนข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจระหว่างแปลงหนึ่งกับ
อีกแปลงหนึ่งจะกระทำได้เมื่อมีเหตุอันสมควร
และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว
มาตรา
๓๔ ในการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงใด
ในช่วงข้อผูกพันช่วงใดหรือระยะเวลาระยะใดในช่วงข้อผูกพันช่วงใดตามที่กำหนด
ไว้ในสัมปทาน
ถ้าผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายหรือได้กระทำไปเกินข้อผูกพันสำหรับการสำรวจ
ปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้นในช่วงข้อผูกพันช่วงนั้นหรือระยะเวลาระยะนั้น
ให้มีสิทธิหักปริมาณเงิน ปริมาณงาน หรือทั้งปริมาณเงินและปริมาณงาน
ส่วนที่เกินออกจากข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้นใน
ช่วงข้อผูกพันหรือระยะเวลาถัดไปได้
มาตรา
๓๕ ในกรณีที่มีการเพิกถอนสัมปทานในช่วงข้อผูกพันช่วงที่หนึ่ง
ถ้าผู้รับสัมปทานยังปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมไม่ครบตาม
ที่กำหนดไว้ในสัมปทาน
ผู้รับสัมปทานต้องจ่ายเงินส่วนที่ยังมิได้ใช้จ่ายไปในช่วงข้อผูกพันช่วงนั้น
ให้แก่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งเพิกถอน
สัมปทานมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๓๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๕ ผู้รับสัมปทานต้องคืนพื้นที่แปลงสำรวจแปลงหนึ่ง ๆ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
เมื่อครบสี่ปีนับแต่วันเริ่มระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม
ต้องคืนพื้นที่ร้อยละห้าสิบของพื้นที่แปลงสำรวจแปลงนั้น
แต่ถ้าเป็นแปลงสำรวจที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*กำหนดว่าเป็นแปลงสำรวจในทะเล
ที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตรให้คืนพื้นที่ร้อยละสามสิบห้าของพื้นที่แปลง
สำรวจแปลงนั้น
(๒) เมื่อสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม และระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมนั้นมิได้รับการต่อ ต้องคืนพื้นที่ทั้งหมดที่เหลือจาก (๑)
(๓)
เมื่อสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม
และระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมนั้นได้รับการต่อ
ต้องคืนพื้นที่อีกร้อยละยี่สิบห้าของพื้นที่แปลงสำรวจแปลงนั้น
แต่ถ้าเป็นแปลงสำรวจที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*กำหนดว่าเป็นแปลงสำรวจในทะเล
ที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตร
ให้คืนพื้นที่อีกร้อยละสี่สิบของพื้นที่แปลงสำรวจแปลงนั้น
(๔) เมื่อสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมที่ได้รับการต่อ ต้องคืนพื้นที่ที่เหลือทั้งหมด
เพื่อ
ประโยชน์ในการคำนวณพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรานี้ให้หักพื้นที่ผลิตออกจาก
พื้นที่แปลงสำรวจแปลงนั้นก่อน
และการคืนพื้นที่ตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมเชื้อ
เพลิงธรรมชาติ*กำหนด
ใน
กรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามวรรคหนึ่ง
ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*กำหนดพื้นที่ที่ต้องคืนแทนผู้รับสัมปทาน
และเมื่อได้แจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบแล้ว
ให้ถือว่าพื้นที่ที่กำหนดนั้นเป็นพื้นที่ที่คืนตามมาตรานี้
มาตรา ๓๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิคืนพื้นที่แปลงสำรวจทั้งแปลงหรือบางส่วนในเวลาใด ๆ ก็ได้
พื้นที่ที่คืนตามวรรคหนึ่งแล้วให้นำไปหักออกจากพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรา ๓๖ ได้
ในการคืนพื้นที่แปลงสำรวจบางส่วนตามมาตรานี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง มาใช้บังคับ
มาตรา
๓๘ ผู้รับสัมปทานซึ่งใช้สิทธิคืนพื้นที่แปลงสำรวจทั้งแปลงหรือบางส่วนในช่วง
ข้อผูกพันช่วงที่หนึ่ง
ไม่มีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจ
ปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้นในช่วงข้อผูกพันช่วงที่หนึ่ง
ใน
กรณีที่มีการคืนพื้นที่แปลงสำรวจแปลงใดทั้งแปลงในช่วงข้อผูกพันช่วงที่หนึ่ง
ตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้รับสัมปทานพ้นจากข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลง
นั้น ในช่วงข้อผูกพันช่วงหลังจากนั้น
มาตรา
๓๙ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานใช้สิทธิคืนพื้นที่แปลงสำรวจในช่วงข้อผูกพันช่วง
ที่สองหรือช่วงที่สาม
ถ้าเป็นการคืนพื้นที่ทั้งหมดที่เหลืออยู่ของแปลงสำรวจแปลงใดให้ผู้รับ
สัมปทานพ้นจากข้อผูกพันทั้งหมดสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานยัง
มิได้ปฏิบัติไปในแปลงสำรวจแปลงนั้น ทั้งนี้
เว้นแต่ข้อผูกพันที่กำหนดไว้ในสัมปทานให้ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติภายในระยะ
เวลาก่อนการคืนพื้นที่ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา
๔๐ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานใช้สิทธิคืนพื้นที่แปลงสำรวจบางส่วนครั้งหนึ่ง
หรือหลายครั้งในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สอง
ให้ผู้รับสัมปทานได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจ
ปิโตรเลียมที่ยังคงเหลืออยู่ในแปลงสำรวจแปลงนั้น ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่การคืนพื้นที่นั้นกระทำในระหว่างปีที่สี่
นับแต่วันเริ่มระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น
ถ้าพื้นที่ที่คืนไม่เกินพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรา ๓๖
ผู้รับสัมปทานไม่มีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพันในช่วงข้อ
ผูกพันช่วงที่สอง
แต่ถ้าพื้นที่ที่คืนครั้งหนึ่งหรือหลายครั้งรวมกันเกินพื้นที่ที่ต้องคืนตาม
มาตรา ๓๖ แล้ว
ให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการ
สำรวจปิโตรเลียมในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับแต่วันเริ่มต้นของช่วงข้อ
ผูกพันนั้น ทั้งนี้
ตามอัตราส่วนของพื้นที่ที่คืนแต่ละครั้งเฉพาะส่วนที่เกินพื้นที่ที่ต้องคืน
ตามมาตรา ๓๖
กับพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานยังถืออยู่ในวันเริ่มต้นของช่วงข้อผูกพันช่วงที่
สอง หักด้วยพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรา ๓๖
หรือตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่ยังเหลืออยู่ในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับ
แต่วันที่มีการคืนแต่ละครั้งกับระยะเวลาทั้งสิ้นของช่วงข้อผูกพันช่วงที่สอง
สุดแต่อัตราใดจะน้อยกว่า
(๒)
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานใช้สิทธิคืนพื้นที่หลังจากสิ้นปีที่สี่นับแต่วัน
เริ่มระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น
ให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการ
สำรวจปิโตรเลียมในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับแต่วันเริ่มต้นของปีที่ห้าของ
ระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น ทั้งนี้
ตามอัตราส่วนของพื้นที่ที่คืนแต่ละครั้ง
กับพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานถืออยู่ในวันเริ่มต้นของปีที่ห้า
หรือตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่ยังเหลืออยู่ในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับ
แต่วันที่มีการคืนแต่ละครั้ง
กับระยะเวลาทั้งสิ้นของช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับจากวันเริ่มปีที่ห้า
สุดแต่อัตราใดจะน้อยกว่า
ภาย
ใต้บังคับมาตรา ๓๙
ในการใช้สิทธิคืนพื้นที่แปลงสำรวจบางส่วนในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สาม
ผู้รับสัมปทานไม่มีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพัน
สำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้นในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สาม