สรุปพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๐
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” หมายความว่า
การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีการผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก
การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาส การนำคนมาขอทาน
การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้าหรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูด
รีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
“การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ”
หมายความว่า
การข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต
ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเองหรือของผู้อื่น
โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย
หรือโดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
“องค์กรอาชญากรรม” หมายความว่า
คณะบุคคลซึ่งมีการจัดโครงสร้างโดยสมคบกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปไม่ว่าจะเป็นการ
ถาวรหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง
และไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างที่ชัดเจนมีการกำหนดบทบาทของสมาชิกอย่างแน่นอนหรือ
มีความต่อเนื่องของสมาชิกภาพหรือไม่ ทั้งนี้
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งหรือหลายฐานที่มีอัตราโทษ
จำคุกขั้นสูงตั้งแต่สี่ปีขึ้นไปหรือกระทำความผิดตามที่กำหนดไว้ในพระราช
บัญญัตินี้
เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดอันมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
“เด็ก” หมายความว่า บุคคลผู้มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่
และให้หมายความรวมถึงข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าข้าราชการพลเรือน
สามัญระดับสามซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎ
กระทรวงเพื่อให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้ประธานศาลฎีกา
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของตน
ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจออกข้อบังคับ
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีอำนาจแต่ง
ตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราช
บัญญัตินี้
ข้อบังคับประธานศาลฎีกา กฎกระทรวงและระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา ๖ ผู้ใดเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย
พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย
หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง
ใช้อำนาจโดยมิชอบ
หรือโดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลบุคคลนั้น
เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำความผิดในการแสวงหา
ประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล หรือ
(๒) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย
พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขังจัดให้อยู่อาศัย
หรือรับไว้ซึ่งเด็กผู้นั้นกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
มาตรา ๗ ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
(๑) สนับสนุนการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
(๒) อุปการะโดยให้ทรัพย์สิน จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่ผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
(๓) ช่วยเหลือด้วยประการใดเพื่อให้ผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์พ้นจากการถูกจับกุม
(๔) เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์เพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ถูกลงโทษ
(๕) ชักชวน ชี้แนะ หรือติดต่อบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์กรอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
มาตรา ๘ ผู้ใดตระเตรียมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา ๖ ต้องระวางโทษหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา ๙
ผู้ใดสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา ๖
ต้องระวางโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าผู้ที่สมคบกันกระทำความผิดคนหนึ่งคนใด
ได้ลงมือกระทำความผิดตามที่ได้สมคบกันผู้ร่วมสมคบด้วยกันทุกคนต้องระวางโทษ
ตามที่ได้บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นอีกกระทงหนึ่งด้วย
ในกรณีที่ความผิดได้กระทำถึงขั้นลงมือ
กระทำความผิด
แต่เนื่องจากการเข้าขัดขวางของผู้สมคบทำให้การกระทำนั้นกระทำไปไม่ตลอด
หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล
ผู้สมคบที่กระทำการขัดขวางนั้นต้องรับโทษตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งกลับใจให้
ความจริงแห่งการสมคบต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะมีการกระทำความผิดตามที่
ได้มีการสมคบกัน
ศาลจะไม่ลงโทษหรือลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
เพียงใดก็ได้
มาตรา ๑๐ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๖
ได้กระทำโดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปหรือโดยสมาชิกขององค์กรอาชญากรรม
ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง
ในกรณีที่สมาชิกขององค์กรอาชญากรรมได้
กระทำความผิดตามมาตรา ๖
สมาชิกขององค์กรอาชญากรรมทุกคนที่เป็นสมาชิกอยู่ในขณะที่กระทำความผิด
และรู้เห็นหรือยินยอมกับการกระทำความผิดดังกล่าว
ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นแม้จะมิได้เป็นผู้กระทำความ
ผิดนั้นเอง
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำ
เพื่อให้ผู้เสียหายที่ถูกพาเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตกอยู่ในอำนาจ
ของผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา ๑๑ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๖
นอกราชอาณาจักร
ผู้นั้นจะต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
โดยให้นำมาตรา ๑๐ แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒
ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
โดยแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน
โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่กระทำการนั้น
ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา ๑๓ ผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการ
พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ
กรรมการหรือผู้บริหารหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าพนักงาน
หรือกรรมการองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
กรรมการ กรรมการ ปกค. อนุกรรมการ
สมาชิกของคณะทำงาน และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้ใดกระทำความผิดใดตามพระราชบัญญัตินี้เสียเอง
ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา ๑๔ ให้ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
หมวด ๒
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
มาตรา ๑๕
ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ
ปคม.” ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
รองนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ ปกค. เป็นรองประธานกรรมการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญและมี
ประสบการณ์โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ด้านการป้องกัน การปราบปราม
การบำบัดฟื้นฟู
และการประสานงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ไม่น้อยกว่าเจ็ดปี
ด้านละหนึ่งคน โดยต้องเป็นภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นกรรมการ
และมีปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเลขานุการ
อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการและผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ
และพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ
และผู้สูงอายุเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(๒)
เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ
หรือโครงสร้างของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์ เพื่อให้การปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(๓) กำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(๔)
กำหนดแนวทางและกำกับดูแลการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศตลอดจนการให้
ความร่วมมือและประสานงานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์
(๕) สั่งการและกำกับดูแลให้มีการศึกษาวิจัยและจัดทำข้อมูลแบบบูรณาการ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(๖)
วางระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียนองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ด้านการ
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมขององค์กรดังกล่าว
(๗)
วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการรับเงิน
การจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการจัดการกองทุน
(๘) วางระเบียบเกี่ยวกับการรายงานสถานะการเงินและการจัดการกองทุนเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๙) สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงานของคณะกรรมการ ปกค.
(๑๐) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา ๑๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) นายกรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗) ขาดการประชุมสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
มาตรา ๑๙
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันเป็นกรรมการแทน
เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะ
ไม่แต่งตั้งก็ได้
และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่
เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
มาตรา ๒๐
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งครบวาระแล้วแต่ยังมิได้มีการแต่ง
ตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจน
กว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
มาตรา ๒๑ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือ
ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม
หากรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการซึ่ง
มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
คณะกรรมการต้องมีการประชุมอย่างน้อยปีละสามครั้ง
มาตรา ๒๒
ให้มีคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ ปกค.” ประกอบด้วย
รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นรองประธาน
กรรมการ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ปลัดกรุงเทพมหานคร
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนแปดคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญและมี
ประสบการณ์ด้านการป้องกัน การปราบปราม
การบำบัดฟื้นฟูและการประสานงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ไม่น้อย
กว่าเจ็ดปี ด้านละสองคน โดยต้องเป็นภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
เป็นกรรมการ และมีรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้คณะกรรมการ ปกค. มีอำนาจแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการ โดยอาจแต่งตั้งจากข้าราชการหรือภาคเอกชนก็ได้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
มาตรา ๒๓ ให้คณะกรรมการ ปกค. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำและกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและแผนประสานงานของหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ชุมชน
และประชาสังคมให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์
และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(๒)
จัดทำและกำกับการดำเนินการตามแผนงานและแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(๓)
จัดให้มีและกำกับการดำเนินการตามโครงการรณรงค์และการให้การศึกษากับประชาชน
ทั่วไปเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(๔)
จัดให้มีการรายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย ยุทธศาสตร์
มาตรการ และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอต่อคณะกรรมการ
(๕)
ติดตามและจัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
การให้ความร่วมมือและประสานงานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปราม
การค้ามนุษย์เสนอต่อคณะกรรมการ
(๖) กำหนดหลักเกณฑ์และอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนตามมาตรา ๔๔ (๔)
(๗)
จัดทำและกำกับแผนปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
และสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกฎหมายว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และพันธกรณีระหว่างประเทศ
(๘) ดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๔ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๗ มาตรา
๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง
การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และการประชุมของคณะกรรมการ ปกค.
โดยอนุโลม
คณะกรรมการ ปกค. ต้องมีการประชุมอย่างน้อยปีละหกครั้ง
มาตรา ๒๕ คณะกรรมการและคณะกรรมการ ปกค.
จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่อง
หนึ่งเรื่องใดหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการและคณะ
กรรมการ ปกค. มอบหมายก็ได้
ให้นำมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานโดยอนุโลม
มาตรา ๒๖
ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทำหน้าที่เป็น
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะกรรมการ ปกค. โดยให้มีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติงานธุรการทั่วไปของคณะกรรมการและคณะกรรมการ ปกค.
(๒)
เป็นศูนย์กลางในการประสานงานและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ
และเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ
ในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) จัดระบบงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมทั้งช่วยเหลือเยียวยาและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายให้มีประสิทธิภาพ
(๔) จัดให้มีการรวบรวม ศึกษา
วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
รวมทั้งจัดให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) จัดให้มีข้อมูลสารสนเทศและการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(๖) ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการและคณะกรรมการ ปกค. หรือตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการ ปกค. มอบหมาย
ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์จัดงบประมาณและบุคลากรให้เพียงพอและเหมาะสมกับการ
ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
หมวด ๓
อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) มีหนังสือเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือพยานหลักฐาน
(๒)
ตรวจตัวบุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิด
ฐานค้ามนุษย์เมื่อผู้นั้นยินยอม
แต่ถ้าผู้นั้นเป็นหญิงจะต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้ตรวจ
(๓) ตรวจค้นยานพาหนะใดๆ
ที่มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่ามีพยานหลักฐานหรือบุคคลที่ตกเป็นผู้เสียหาย
จากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์อยู่ในยานพาหนะนั้น
(๔) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใดๆ
เพื่อตรวจค้น ยึด หรืออายัด
เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีพยานหลักฐานในการค้ามนุษย์
หรือเพื่อพบและช่วยบุคคลที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
และหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ พยานหลักฐานนั้นอาจถูกโยกย้าย
ซ่อนเร้น หรือทำลายไปเสียก่อน หรือบุคคลนั้นอาจถูกประทุษร้าย โยกย้าย
หรือซ่อนเร้น
ในการใช้อำนาจตาม (๔)
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงความบริสุทธิ์ก่อนการเข้าค้นและรายงานเหตุผลที่
ทำให้สามารถเข้าค้นได้
รวมทั้งผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป
ตลอดจนจัดทำสำเนารายงานดังกล่าวให้ไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถานหรือสถานที่ค้น
ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนารายงานนั้นให้แก่ผู้ครอบครองดังกล่าวใน
ทันทีที่กระทำได้ และหากเป็นการเข้าค้นในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและขึ้น
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นต้องดำรงตำแหน่งนายอำเภอหรือ
รองผู้กำกับการตำรวจขึ้นไป หรือเป็นข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับเจ็ดขึ้นไป
ทั้งนี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นส่งสำเนารายงานเหตุผลและผล
การตรวจค้น
บัญชีพยานหลักฐานหรือบุคคลที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้า
มนุษย์และบัญชีทรัพย์ที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ต่อศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือ
ท้องที่ที่ทำการค้นหรือศาลอาญา
ภายในสี่สิบแปดชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดการตรวจค้นเพื่อเป็นหลักฐาน
ในการดำเนินการตาม (๒) และ (๓) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำแทนได้
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่จะขอความช่วยเหลือจากบุคคลใกล้เคียงเพื่อดำเนินการตามพระ
ราชบัญญัตินี้ก็ได้
แต่จะบังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่ผู้นั้นไม่ได้
มาตรา ๒๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๙
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการค้า
มนุษย์และเพื่อคุ้มครองป้องกันภัยแก่บุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็น
ผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
พนักงานเจ้าหน้าที่อาจจัดให้บุคคลดังกล่าวอยู่ในความคุ้มครองเป็นการชั่ว
คราวได้แต่ต้องไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมง ทั้งนี้
ให้รายงานให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี
ทราบโดยไม่ชักช้า
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องให้การคุ้มครอง
บุคคลซึ่งอาจจะเป็นผู้เสียหายเกินกว่ากำหนดเวลาในวรรคหนึ่ง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งอนุญาต ทั้งนี้
ศาลจะอนุญาตได้ไม่เกินเจ็ดวัน โดยจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ไว้ด้วยก็ได้
การจัดให้บุคคลซึ่งอาจจะเป็นผู้เสีย
หายอยู่ในความคุ้มครองเป็นการชั่วคราวตามมาตรานี้ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าว
อยู่ในสถานที่อันสมควรซึ่งมิใช่ห้องขังหรือสถานคุมขัง ทั้งนี้
ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
การปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ให้คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนโดยเคร่งครัด
มาตรา ๓๐
ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใดซึ่งส่งทาง
ไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการสื่อสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อสารสนเทศอื่น
ใด ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับอนุมัติเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการตำรวจแห่ง
ชาติ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี
จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลอาญาหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่ง
อนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาซึ่งเอกสาร
หรือข้อมูลข่าวสารดังกล่าวก็ได้ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับประธานศาลฎีกา
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาถึงผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิอื่นใดประกอบกับเหตุผลและความจำเป็น ดังต่อไปนี้
(๑) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดหรือจะมีการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
(๒) มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์จากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าว
(๓) ไม่อาจใช้วิธีการอื่นใดที่เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าได้
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
ให้ศาลสั่งอนุญาตได้คราวละไม่เกินเก้าสิบวันโดยจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ได้
และให้ผู้เกี่ยวข้องกับเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารตามคำสั่งดังกล่าวให้ความ
ร่วมมือเพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรานี้ ภายหลังที่มีคำสั่งอนุญาต
หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุผลความจำเป็นไม่เป็นไปตามที่ระบุหรือพฤติการณ์
เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร
ในการดำเนินการตามคำสั่งของศาล
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจร้องขอให้บุคคลใดช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่
ได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกรายละเอียดผลการดำเนินการนั้น
และให้ส่งบันทึกนั้นไปยังศาลที่มีคำสั่งโดยเร็ว
บรรดาเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารที่ได้มาตาม
วรรคหนึ่ง
ให้เก็บรักษาและใช้ประโยชน์ในการสืบสวนและใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี
ความผิดฐานค้ามนุษย์เท่านั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๓๑ ก่อนฟ้องคดีต่อศาล
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
พนักงานอัยการโดยตนเองหรือโดยได้รับคำร้องขอจากพนักงานสอบสวนจะนำผู้เสียหาย
หรือพยานบุคคลมายื่นคำร้องต่อศาล
โดยระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าได้มีการกระทำความผิดและเหตุแห่งความจำ
เป็นที่จะต้องมีการสืบพยานไว้โดยพลันก็ได้
ในกรณีที่ผู้เสียหายหรือพยานบุคคลจะให้
การต่อศาลเอง เมื่อผู้เสียหายหรือพยานบุคคลแจ้งแก่พนักงานอัยการแล้ว
ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลโดยไม่ชักช้า
ให้ศาลสืบพยานทันทีที่ได้รับคำร้องตาม
วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ในการนี้
หากผู้มีส่วนได้เสียในคดีคนใดยื่นคำร้องต่อศาลแถลงเหตุผลและความจำเป็นขอถาม
ค้านหรือตั้งทนายความถามค้านเมื่อเห็นสมควรก็ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตได้
และให้นำความในมาตรา ๒๓๗ ทวิ วรรคสาม
และวรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าต่อมามีการฟ้องผู้ต้องหาเป็นจำเลยในการกระทำความผิดตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๑ ก็ให้รับฟังพยานดังกล่าวในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้
มาตรา ๓๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๔
การช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
มาตรา ๓๓
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่
บุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์อย่างเหมาะสมใน
เรื่องอาหาร ที่พักการรักษาพยาบาล การบำบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ
การให้การศึกษา การฝึกอบรม การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
การส่งกลับไปยังประเทศเดิมหรือภูมิลำเนาของผู้นั้น
การดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายตามระเบียบที่
รัฐมนตรีกำหนด โดยให้คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความแตกต่างทางเพศ
อายุ สัญชาติ เชื้อชาติ ประเพณีวัฒนธรรมของผู้เสียหาย
การแจ้งสิทธิของผู้เสียหายที่พึงได้รับการคุ้มครองในแต่ละขั้นตอนทั้งก่อน
ระหว่าง และหลังการช่วยเหลือ
ตลอดจนขอบเขตระยะเวลาในการดำเนินการช่วยเหลือในแต่ละขั้นตอน
และต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้เสียหายก่อนด้วย
การให้ความช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง
อาจจัดให้บุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหายได้รับการดูแลในสถานแรกรับตามกฎหมายว่า
ด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
สถานแรกรับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
หรือสถานสงเคราะห์อื่นของรัฐหรือเอกชนก็ได้
มาตรา ๓๔
เพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้เสียหาย
ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแจ้งให้ผู้เสียหายทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิ
ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
และสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย
มาตรา ๓๕
ในกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิและประสงค์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมา
จากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
ให้พนักงานอัยการเรียกค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหายตามที่ได้รับแจ้งจากปลัด
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
การเรียกค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่ง
พนักงานอัยการจะขอรวมไปกับคดีอาญาหรือจะยื่นคำร้องในระยะใดระหว่างที่คดี
อาญากำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้
คำพิพากษาในส่วนที่เรียกค่าสินไหมทดแทน
ให้รวมเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีอาญาและในกรณีที่ศาลสั่งให้ใช้ค่าสิน
ไหมทดแทน ให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
และให้อธิบดีกรมบังคับคดีมีหน้าที่ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในกรณีนี้
ด้วย
ในการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อเรียกค่า
สินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่ง และการบังคับคดีตามวรรคสามมิให้เรียกค่าธรรมเนียม
และให้นำความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาบังคับใช้โดยอนุโลมเท่าที่
ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๖
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหาย
ระหว่างที่อยู่ในความดูแลไม่ว่าบุคคลนั้นจะพำนักอยู่ ณ ที่ใด ไม่ว่าก่อน
ขณะ หรือหลังการดำเนินคดี ทั้งนี้
ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหายด้วย
ในกรณีที่ผู้เสียหายจะให้การหรือเบิกความ
เป็นพยานในความผิดฐานค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้เสียหายซึ่งเป็น
พยานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา
ถ้าผู้เสียหายต้องเดินทางกลับประเทศที่
เป็นถิ่นที่อยู่หรือภูมิลำเนา
หรือถ้าบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหายอาศัยอยู่ในประเทศอื่น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานในประเทศนั้นๆ
ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน
และไม่ว่าจะกระทำผ่านสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้นๆ หรือไม่ก็ตาม
เพื่อให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหายและบุคคลในครอบครัวอย่าง
ต่อเนื่องในประเทศนั้น
มาตรา ๓๗
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้การรักษา
พยาบาล การบำบัดฟื้นฟู การเรียกร้องสิทธิของผู้เสียหาย
พนักงานเจ้าหน้าที่อาจดำเนินการให้มีการผ่อนผันให้ผู้เสียหายนั้นอยู่ในราช
อาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว
และได้รับอนุญาตให้ทำงานเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายได้ ทั้งนี้
โดยให้คำนึงถึงเหตุผลทางด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก
มาตรา ๓๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๗
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นคนต่างด้าวกลับประเทศที่เป็น
ถิ่นที่อยู่หรือภูมิลำเนาโดยไม่ชักช้า
เว้นแต่บุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตาม
กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
หรือเป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษจากรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงมหาดไทย
โดยมีหลักฐานเอกสารตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือกฎหมายว่าด้วยการ
ทะเบียนคนต่างด้าว
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความปลอดภัยและสวัสดิภาพของบุคคลนั้น
มาตรา ๓๙
ในกรณีที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้า
มนุษย์ในต่างประเทศ
หากผู้นั้นประสงค์จะกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถิ่นที่อยู่
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีสัญชาติไทยจริง
หรือไม่
หากบุคคลนั้นเป็นผู้มีสัญชาติไทยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามที่จำ
เป็นเพื่อให้บุคคลนั้นเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่
ชักช้า และให้คำนึงถึงความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้นั้น
ในกรณีที่ผู้เสียหายในต่างประเทศเป็นคน
ต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคน
เข้าเมือง
หรือเป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษจากรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงมหาดไทยและก่อนออกนอกราชอาณาจักร
สถานะของการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่เป็นการชั่วคราวยังไม่สิ้นสุด
เมื่อได้ตรวจพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความถูกต้องของผู้เสียหายที่ถือ
เอกสารแล้ว หากผู้นั้นประสงค์จะกลับเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อให้ผู้เสียหายนั้นเดิน
ทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้
ให้คำนึงถึงความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้นั้น
และให้ได้รับการพิจารณาให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้ตามสถานะและระยะเวลาที่
เป็นอยู่เดิมก่อนออกไปนอกราชอาณาจักร
ในกรณีที่ผู้เสียหายในต่างประเทศเป็นคน
ต่างด้าวและไม่มีเอกสารประจำตัว
แต่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้ที่มีหรือเคยมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่
ในราชอาณาจักรโดยถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อได้ตรวจพิสูจน์สถานะของการมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรของ
ผู้นั้นแล้ว หากผู้นั้นประสงค์จะกลับเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อให้ผู้เสียหายนั้นเดิน
ทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้
ให้คำนึงถึงความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้นั้นและให้ได้รับการพิจารณาให้
อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้ตามสถานะและระยะเวลาที่เป็นอยู่เดิมก่อนออกไปนอก
ราชอาณาจักร
มาตรา ๔๐
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับ
สถานการณ์ จำนวนคดี การดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๔๑
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับผู้เสียหายในความผิดฐานเข้ามา
ออกไปหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานฐานปลอมหรือใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอม
ตามประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีเฉพาะที่เกี่ยว
กับการติดต่อ ชักชวน แนะนำตัว
ติดตามหรือรบเร้าบุคคลเพื่อค้าประเวณีและการเข้าไปมั่วสุมในสถานการค้า
ประเวณีเพื่อค้าประเวณี
หรือความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการทำ
งานของคนต่างด้าว
หมวด ๕
กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
มาตรา ๔๒
ให้จัดตั้งกองทุนในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เรียกว่า
“กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์”
เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายสำหรับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน ประกอบด้วย
(๑) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
(๒) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
(๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้
(๔) เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
(๕) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน
(๖) เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของกองทุนหรือที่ได้จากการจัดหารายได้
(๗) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๔๓ เงินและดอกผลที่กองทุนได้รับตามมาตรา ๔๒ ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา ๔๔ เงินและทรัพย์สินของกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้
(๑) การช่วยเหลือผู้เสียหายตามมาตรา ๓๓
(๒) การคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา ๓๖
(๓) การช่วยเหลือผู้เสียหายในต่างประเทศให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถิ่นที่อยู่ตามมาตรา ๓๙
(๔) การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตามระเบียบที่คณะกรรมการ ปกค. กำหนด
(๕) การบริหารกองทุน
มาตรา ๔๕
ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนสำนักงบประมาณ
ผู้แทนกรมบัญชีกลาง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจำนวนสามคน
ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้แทนจากภาคเอกชนจำนวนสองคนซึ่งเกี่ยวข้องกับงานด้าน
พัฒนาสังคม ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
หรือด้านการเงิน เป็นกรรมการ
และให้รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปลัดกระทรวง
มอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๔๖ ให้นำมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา
๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๕
มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
การประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุน
และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม
มาตรา ๔๗ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๔
(๒) บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๓) รายงานสถานะการเงินและการจัดการกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๘ การรับเงิน การจ่ายเงิน
การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการจัดการกองทุน
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๔๙
ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนจำนวนห้าคนประกอบ
ด้วย
ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ที่มี
ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการเงิน การสังคมสงเคราะห์
และการประเมินผลด้านละหนึ่งคนและให้รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่น
คงของมนุษย์ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้นำมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา
๒๐ และมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน
โดยอนุโลม
มาตรา ๕๐ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน
(๒) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ
(๓) เรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาประเมินผล
มาตรา ๕๑
ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบดุลและบัญชีทำการส่งสำนักงานการตรวจเงิน
แผ่นดินตรวจสอบและรับรองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทำรายงานผล
การสอบและรับรองบัญชีและการเงินของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อย
ห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
เพื่อให้คณะกรรมการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
รายงานผลการสอบบัญชีตามวรรคสอง
ให้รัฐมนตรีเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
เพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบและจัดให้มีการประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาต่อไป
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๕๒ ผู้ใดกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ได้กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปี
แต่ไม่ถึงสิบแปดปีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกปีถึงสิบสองปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถึงสองแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ได้กระทำแก่บุคคลอายุไม่เกินสิบห้าปี
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่แปดปีถึงสิบห้าปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
มาตรา ๕๓ นิติบุคคลใดกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ
หรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ
หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
บุคคลดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกปีถึงสิบสองปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถึงสองแสนสี่หมื่นบาท
มาตรา ๕๔ ผู้ใดขัดขวางการสืบสวน
การสอบสวน การฟ้องร้อง หรือการดำเนินคดีความผิดฐานค้ามนุษย์
เพื่อมิให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ถ้าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) ให้ ขอให้
หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้เสียหายหรือพยานเพื่อจูง
ใจให้ผู้นั้นไม่ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ
หรือไม่ไปศาลเพื่อให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ
หรือเพื่อให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความอันเป็นเท็จ
หรือไม่ให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ
ในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ใช้กำลังบังคับ ขู่เข็ญ ข่มขู่
ข่มขืนใจ หลอกลวง
หรือกระทำการอันมิชอบประการอื่นเพื่อมิให้ผู้เสียหายหรือพยานไปพบพนักงาน
เจ้าหน้าที่ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ
หรือไม่ไปศาลเพื่อให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ
หรือเพื่อให้ผู้นั้นให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความอันเป็นเท็จ
หรือไม่ให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ
ในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) ทำให้เสียหาย ทำลาย
ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ เอาไปเสีย แก้ไข เปลี่ยนแปลง ปกปิด
หรือซ่อนเร้น เอกสารหรือพยานหลักฐานใดๆ หรือปลอม ทำ
หรือใช้เอกสารหรือพยานหลักฐานใดๆ
อันเป็นเท็จในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ให้ ขอให้
หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่กรรมการ กรรมการ ปกค.
อนุกรรมการ สมาชิกของคณะทำงาน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
หรือเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน
หรือเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ
หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ
(๕) ใช้กำลังบังคับ ขู่เข็ญ ข่มขู่
ข่มขืนใจ หรือกระทำการอันมิชอบประการอื่นต่อกรรมการ กรรมการ ปกค.
อนุกรรมการ สมาชิกของคณะทำงาน
หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ
พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ
หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๕ ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติตามหน้าที่หรือกฎหมาย
(๑)
รู้ว่ามีการยื่นคำขอเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๓๐
แล้วเปิดเผยแก่บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้รู้ว่ามีหรือจะมีการยื่นคำ
ขอเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารดังกล่าวโดยประการที่น่าจะทำให้
ผู้ยื่นคำขอสูญเสียโอกาสที่จะได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารนั้น หรือ
(๒)
รู้หรือได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารที่ได้มาตามมาตรา ๓๐
แล้วเปิดเผยแก่บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้รู้เอกสารหรือข้อมูลข่าว
สารดังกล่าว
มาตรา ๕๖
ผู้ใดกระทำการหรือจัดให้มีการกระทำการดังต่อไปนี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) บันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป
หรือบันทึกเสียง
แพร่เสียงหรือสิ่งอื่นที่สามารถแสดงว่าบุคคลใดเป็นผู้เสียหายจากการกระทำ
ความผิดฐานค้ามนุษย์ ทั้งนี้ ไม่ว่าขั้นตอนใดๆ
(๒) โฆษณาหรือเผยแพร่ข้อความ
ซึ่งปรากฏในทางสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรือในทางพิจารณาคดีของศาลที่ทำให้
บุคคลอื่นรู้จักชื่อตัว
ชื่อสกุลของผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์หรือบุคคลในครอบครัว
ผู้เสียหายนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยสื่อสารสนเทศประเภทใด
(๓) โฆษณาหรือเผยแพร่ข้อความ
ภาพหรือเสียง ไม่ว่าโดยสื่อสารสนเทศประเภทใด เปิดเผยประวัติ สถานที่อยู่
สถานที่ทำงาน
หรือสถานศึกษาของบุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การ
กระทำที่ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อประโยชน์ของทางราชการในการคุ้มครองหรือ
ช่วยเหลือผู้เสียหาย หรือผู้เสียหายยินยอมโดยบริสุทธิ์ใจ
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๗
ให้โอนเงินทุนสงเคราะห์เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ตาม
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ว่าด้วยการดำเนินงานและการ
ใช้จ่ายเงินสำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาเป็นทุนประเดิมแก่กองทุนตามพระราชบัญญัตินี้